Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2271
Title: | STRATEGY LEARNING MANAGEMENT TO DEVELOP KID-PEN PROCESS OF STUDENT PRIMARY SCHOOL ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา |
Authors: | Surapa NINYAKANON สุรภา นิลยกานนท์ KANIT KHEOVICHAI คณิต เขียววิชัย Silpakorn University. Education |
Keywords: | ยุทธศาสตร์, การจัดการเรียนรู้, กระบวนการคิดเป็น, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา STRATEGY LEARNING MANAGEMENT DEVELOP KID-PEN PROCESS STUDENT PRIMARY SCHOOL |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) study the problems, requirements, and solutions to
develop kid-pen process of student primary school; 2) study the internal and external environments which affect
to develop kid-pen process of student primary school; 3) devise various Strategy Learning Management to develop
kid-pen process of student primary school. Mixed method methodology includes quantitative research, qualitative
research, in-depth interview, and connoisseurship for the evaluation of relevant strategic plans. Population and
sample groups include 8 people executives and 98 people school teachers. total 106 people. Select the sample
Multi-Stage Sampling provide sampling to use as sample in the upper southern region get a sample of 4 provinces
and select the Simple random sampling by lottery method 1 school per province .The number of data collected
in 4 school are Tedsaban 1 (Taladkao) school in Krabi province, Tedsaban 1 (Banta-tapao) school in Chumphon
province, Anuban tedsaban tambon thai mueang (prachachon romjai) school in Phang-nga province, Tedsaban wat
uppananta school in Ranong province. Statistics in research are percentage, mean and standard deviation.
The findings of the research were as follow: 1) Study the problems, requirements, and develop
kid-pen process of student primary school, the students should be trained to think realistically in various situation
settings on a regular basis as part of the practical training/lessons. 2) Study the internal and external environments
affecting the problem develop kid-pen process of student primary school is thinking for rational problem solving
consists of the following thinking skill : communication thinking, systems thinking, analytical thinking, creative
thinking, ethical thinking 3) Strategy learning management to develop kid-pen process of student primary school
include: Strategy 1 strengthen the communication thinking skills by ways of speaking, listening, reading and writing
effectively to convey information and ideas to others. Strategy 2 strengthen the systematic thinking skills by ways of systematic planning, writing and explaining the procedures in a precise and relevant manner. Strategy
3 strengthen the analytical thinking skills by ways of identifying, differentiating and analyzing different components
of the problem in a logical manner. Strategy 4 strengthen the creative thinking skills by ways of initiating the
new ideas in an imaginative, delicate and quick manner. Strategy 5 strengthen the ethical thinking skills by ways of
positive and compassionate thinking, morals and public minds. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และหาแนวทางในการพัฒนา กระบวนการคิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการ คิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 3) สร้างยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานคือใช้การวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจความคิดเห็น ด้วยแบบสอบถามร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและตรวจสอบแผนยุทธศาสตร์โดยการจัดสัมมนา อ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คนและพนักงานครู จำนวน 98 คน รวม 106 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สุ่มตัวอย่างจังหวัดเพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตภาคใต้ตอนบน เพื่อให้ได้ กลุ่มตัวอย่าง 4 จังหวัด หลังจากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับสลาก จังหวัดละ 1 โรงเรียน ได้จำนวนที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 โรงเรียน คือ จังหวัดกระบี่ โรงเรียนเทศบาล 1 (ตลาดเก่า), จังหวัดชุมพร คือ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าตะเภา), จังหวัดพังงา คือ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) และ จังหวัดระนอง คือ โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนากระบวนการคิดเป็นของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนากระบวนการคิดเป็นของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการ คิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการ คิดเป็นคือการคิดเพื่อแก้ปัญหาเชิงเหตุผลซึ่งประกอบด้วยทักษะการคิด ดังต่อไปนี้ 1) ทักษะการคิดสื่อความหมาย 2) ทักษะ การคิดเชิงระบบ 3) ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ 4) ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ 5) ทักษะการคิดเชิงจริยธรรม 3) ยุทธศาสตร์ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเป็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มี 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการคิดสื่อความหมาย คือสามารถใช้ทักษะการถ่ายทอดความคิดของตน โดยผ่านการสื่อสาร ในรูปแบบของการพูดการฟัง การอ่าน การเขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจ, ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการคิด เชิงระบบ คือสามารถวางแผน เขียน และ อธิบายลำดับขั้นตอนในเรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นระบบเชื่อมโยงกัน, ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ คือสามารถจำแนกแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ได้และรู้ว่ามีความ แตกต่างอย่างไร เพื่อความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา, ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ คือมีทักษะการคิดริเริ่ม มีจินตนาการ มีความหลากหลายไม่ซ้ำกับคนอื่น ละเอียดลออ และรวดเร็ว, ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงจริยธรรม คือเป็นผู้มีความคิดในเชิงบวก เพื่อประพฤติดี ทั้งกาย วาจา ใจ ในการ ช่วยเหลือ แบ่งปันและเสียสละเพื่อส่วนรวม |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2271 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57260914.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.