Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2276
Title: THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT ANDTHE SYSTEMATIC THINKING ABILITY OF THE GEOGRAPHICAL LEANING OF MATHAYOMSUKSA 5  STUDENTS BY INQUIRY BASED LEARNING WITH FLIPPED CLASSROOM  
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
Authors: Thanyalak LAONGKAEO
ธัญลักษณ์ ละอองแก้ว
Anongporn Smanchat
อนงค์พร สมานชาติ
Silpakorn University. Education
Keywords: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ห้องเรียนกลับด้าน
ความสามารถในการคิดเชิงระบบ
INQUIRY BASED LEARNING
FLIPPED CLASSROOM
SYSTEMATIC THINKING ABILITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to 1) compare to the pretest-posttest of the geographical learning of  mathayomsuksa 5 students by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom. 2) study the development of learning achievement and The systematic thinking ability between learning by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom.  3) to study the students’ opinions toward taught by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom. The sample consisted of 21 Matthayomsuksa 5 students of Satree Wat Absornsawan school, Bangkok.The research instruments used in the study were 1) lesson plans 2) a student satisfaction  questionnaire on geographical learning  3) a test of systems thinking  skillst and 4) a questionnaire of students’opinions on learning by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom. The data were analyzed by mean (x̄), standard deviation (S.D.), Developmental testing and t-test for dependent.   The research findings found that:    1) The result of comparison on the  achievement of the geographical learning of students by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom were higher than the before learning at the at .05 level of significance. 2) The result of the study on the development of learning achievement and The systematic thinking ability between learning by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom at a high level 3) The result of the study on the opinions of Matthayomsuksa 5 students towards teaching progress by Inquiry Based Learning with Flipped Classroom. In overall mean at the high level. In order of each aspect consideration found that the issues that students agree with the first was the benefits of learning management, the second was the learning atmosphere and the third was learning activities. The mean was at 4.49 and the standard deviation was at 0.55
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการคิดเชิงระบบในระหว่างเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9  ในโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กลุ่มที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก 3. แบบทดสอบพัฒนาด้านความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9  4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และค่า t - test (แบบ Dependent)  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. ผลการศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการคิดเชิงระบบในระหว่างเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านหลังการเรียนอยู่ในระดับสูงขึ้น 3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2276
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57262312.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.