Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2278
Title: DEVELOPMENT OF ECONOMICS PROBLEM SOLVING ABILITIESOF MATTHAYOMSUKA 6 STUDENTS TAUGHT BY USING ACTIVE LEARNING PROCESS WITH KWL PLUS TECHNIQUE
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับเทคนิค KWL Plus
Authors: Panupong MUANGKHEAW
ภาณุพงศ์ ม่วงเขียว
Anongporn Smanchat
อนงค์พร สมานชาติ
Silpakorn University. Education
Keywords: การแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์, กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก, กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับเทคนิค KWL Plus
ECONOMICS PROBLEM SOLVING ABILITIES ECONOMICS TEACHING ACTIVE LEARNING ACTIVE LEARNING PROCESS WITH KWL PLUS TECHNIQUE
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to: 1) compare the learning achievement on economics of the students before and after taught by using active learning process with KWL Plus technique 2) compare the economics problem solving abilities of the students before and after taught by using active learning process with KWL Plus technique 3) develop the students' economics problem solving abilities during by using active learning process with KWL Plus technique and 4) study opinions of  the students towards active learning process with KWL Plus technique. The sample of this research consisted of 35 students from the class of Mattayomsuksa 6/1. The students were studying in the second semester during the academic year 2018 at Triamudomsuksa Suwinthawong School, Nongchok Distric, Bangkok. Random by Simple Random Sampling.  The research instruments used for gathering data were : 1) lesson plans 2) a test of economics problem solving abilities 3) an achievement test on economics and 4) a questionnaire on the opinion of students towards active learning process with KWL Plus technique. The collected data was analyzed by mean (x)standard deviation (S.D.), t-test dependent. The research findings of the study were as follows: 1. The learning achievement on economics of the students after taught by using active learning process with KWL Plus technique was higher than before using situation confrontation process at the level of .05 significance. 2. The economics problem solving abilities of the students after taught by using active learning process with KWL Plus technique were higher than before using at the level of .05 significance. 3. Students have improved their ability to solve economic problems while studying in active learning processes together with the KWL Plus technique higher level. 4. The student's opinions towards active learning process with KWL Plus technique showed the highest level of satisfaction.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 35 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์หลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. พัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สูงขึ้น 4. ความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับเทคนิค KWL Plus อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2278
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57262315.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.