Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2279
Title: THE DEVELOPMENT OF SELECTIVE COURSE ON THE MANGROVE FOREST FOR LIFE
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลนคือชีวิต
Authors: Withsara CHENGWONG
วิศระ เชียงหว่อง
Anongporn Smanchat
อนงค์พร สมานชาติ
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
DEVELOPMENT CURRICULUM
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1. To study the fundamental data of elective courses on the mangrove forest for life. 2. To develop the elective course on the mangrove forest for life. 3. to implement the elective course on the mangrove forest for life. and 4. to evaluate and improve the elective course on the mangrove forest for life about learning outcome on the mangrove forest, ability of project work and study opinions the students towards  elective course on the mangrove forest for life. The research was investigated with 40 sevenths graded Paknampran schools using 20 periods of the local study course. The research instruments were the elective course on the mangrove forest for life, unit plans, questionnaires, interview form, focus group guideline, learning outcome test, the ability of project work and feedback questionnaire the elective courses on the mangrove forest for life. The data were analyzed by percentage, mean (x̄), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.  The research results were as follows :  1. The local study course is crucial for students and involved persons. The local study course is needed to develop a course of mangrove forest, conservation, knowledge of local, proud of ecological restoration on the mangrove forest of shrimp farm and conserve. The cooperate to developing conservation area. The students had life skills to life together, problem solves on the environment deteriorated and had desirable characteristics. The students proud of local and cherish in the mangrove forest. 2. The develop curriculum consisted of concept, principles, destination, course description, learning outcome, course structure, learning content, evaluation guidelines ,and 5 unit plans. 3. The curriculum was implemented with 40 seventh graded students of Paknampran School, Pranburi District, Prachuap Khiri Khan Province engaging 20 periods conducted on the theory and performing learning activities, interested in local learning resources and knowledge from local people. 4. The results of curriculum evaluation indicated the different on student’s pretest and posttest achievement scores were statistically significant at the .05 level; the students had the ability of project work, fun in learning about the mangrove forest, harmonious for group work, accept to hear different opinions and proud of in the local mangrove forest.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต 2. พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่ม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต  3. ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต  4. ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต ความสามารถในการทำโครงงาน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 40 คน เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต หน่วยการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลน คือ ชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน การอนุรักษ์ป่าชายเลน มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ความภาคภูมิใจในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนที่ส่วนหนึ่งถูกทำเป็นนากุ้ง และมีการอนุรักษ์ มีการพัฒนาจนสามารถเกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลนที่เกิดจากการร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชนขึ้นมาได้ นักเรียนเกิดทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกันในชุมชน เกิดความคิดในการแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ยาวนานคู่กับชุมชน และส่งผลให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่น เกิดความหวงแหนในทรัพยากรป่าชายเลนให้อยู่คู่กับชุมชนปากน้ำปราณตลอดไป 2. ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหลักสูตรประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา แนวทางการดำเนินการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 40 คน เป็นเวลา 20 ชั่วโมง โดยจัดการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยการศึกษาพบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความสนใจในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และคนในท้องถิ่นที่เป็นผู้ให้ความรู้ 4. ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้การศึกษาก่อนและหลังใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงาน และนักเรียนมีความสนุกในการเรียนรู้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นที่มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2279
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57262316.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.