Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2286
Title: The development of science learning by using the little scientists house (Haus der Kleinen Forcher) approach to enhance the science process skills and scientific literacy of prathomsuksa three students
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามเเนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (Haus der Kleinen Forcher) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เเละการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
Authors: Supreeya TANTIWEERAKUN
สุปรียา ตันติวีรคุณ
Poranat KITROONGRUENG
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย/ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ /การรู้วิทยาศาสตร์
SCIENCE LEARNING/THE LITTLE SCIENTIST HOUSE/SCIENCE PROCESS SKILLS/SCIENCE LITERACY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to develop the science learning procedure by using the scientists house approach for grade three students; 2) to develop the students  science skills and science literacy by using the scientists house approach for grade three students; 3) to study the students’ attitude toward the science learning after using the scientists house approach. The samples for this study were 37 grade three students who participated in semester 2, academic year 2018 in The Demonstration School of Silpakorn University (Early Childhood & Elementary), Muang Nakhon Pathom, selected by using simple random sampling. The research tools consisted of: 1) the lesson plans based on the scientists house (Haus der Kleinen Forcher) approach; 2) the activities cards; 3) the science learning procedure skill test; 4) the science achievement test; 5) the group interviewing to obtain in-depth information about students’ attitude. The data were analyzed by mean and standard deviation. The mean scores and standard deviation were calculated to determine whether the mean score of the pre-test and post-test were significantly different by t-test for dependent. The data from interview was categorized by a content analysis.  The result revealed that:             1. The science process skills of Prathomsuksa three students using the scientists house (Haus der Kleinen Forcher) were higher than before experiment at the level of .05 significance.             2. The science literacy of Prathomsuksa three students using the scientists house (Haus der Kleinen Forcher) were higher than before experiment at the level of .05 significance.             3. The students were positive attitude toward the science learning after using the scientists house (Haus der Kleinen Forcher).  They were able to do the activity or complete the task with creativity. Moreover, they had skills in term of "scientific procedure", and their achievement were higher obviously. They were able to apply what they had learnt in their daily lives. Furthermore, they were able to decide to solve problems properly.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2) พัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 3) ศึกษาทัศนคติของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 37 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยโดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2) บัตรกิจกรรมตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดการรู้วิทยาศาสตร์ 5) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.การรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ทัศนคติของผู้เรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย พบว่าผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดนี้ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้ มีการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2286
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57263202.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.