Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/229
Title: ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการในประเทศไทย
Other Titles: STRATEGIES FOR THE COMPETENCY DEVELOPMENT IN TOURISM MANAGEMENT OF ENTREPRENEURS IN THAILAND
Authors: เพ็ญวันศุกร์, อัจฉราวรรณ
Phenwansuk, Atcharawan
Keywords: ขีดความสามารถ
การจัดการธุรกิจนำเที่ยว
COMPETENCY
TOURISM MANAGEMENT
Issue Date: 8-Jan-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการ 2) วิเคราะห์ความแตกต่างในคุณลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะของธุรกิจนำเที่ยว และการรับรู้ในพฤติกรรมการสร้างผลงานของปัจเจกบุคคล กลุ่ม และองค์การ ที่ส่งผลต่อความแตกต่างในขีดความสามารถการจัดการธุรกิจนำเที่ยว 3) เปรียบเทียบขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการที่มีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน และ 4) ค้นหายุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวอย่างที่ได้มาเป็นการสุ่มแบบมีระบบ ซึ่งประชากรเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว 371 รายสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่าง โดยใช้สถิติ t-test และ f-test ส่วนวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 23 ราย และการจัดประชุมข้อเสนอเชิงนโยบายจำนวน 20 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวในระดับต่ำ แต่เมื่อวิเคราะห์ในแต่ละรูปแบบธุรกิจพบว่า มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน รายได้สุทธิ และสาขาที่จดทะเบียนธุรกิจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งผู้ประกอบการที่มีการรับรู้ในพฤติกรรมการสร้างผลงานตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล กลุ่ม และองค์การที่แตกต่างกัน มีขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวที่มีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน(บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน และเจ้าของคนเดียว) มีขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่มีความแตกต่างกัน เห็นได้ว่ารูปแบบธุรกิจดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการจดทะเบียนธุรกิจตามกฎหมายเท่านั้น แต่ความแตกต่างขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการภายในองค์การเท่านั้น การค้นหายุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix มากำหนดเป็น 4 ยุทธศาสตร์ 11 กลยุทธ์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการของผู้ประกอบการสู่ระดับสากลประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ 1) ธรรมาภิบาลสร้าง ผู้นำสู่ระดับสากล 2) มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากร เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความร่วมมือทางธุรกิจอย่างสมดุลและยั่งยืนประกอบด้วย 2 กลยุทธ์คือ1) เรียนรู้ อยู่ร่วม อย่างเข้าใจบนความต่างของวัฒนธรรม 2) พันธมิตรทางธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ 1) การสร้างและเพิ่มมูลค่า 2) การตลาดเชิงบูรณาการ 3) การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและปรับระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวของภาครัฐสู่การพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ 1) รักษาเสถียรภาพการท่องเที่ยว 2) การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว 3) การปรับตัวให้เชื่อมโยงโอกาสจากอาเซียน This research objectives were to (1) study the competency for tourism management of entrepreneurs (2) analyze the differences of personal attributes, tourism features and behavior recognitions of Company Limited, Limited Partnership and Proprietorship which resulted the competency differences for tourism management (3) compare the competency for tourism management of each entrepreneur which distinguished the different types of business (4) explore the strategies of competency’s development for tourism management of entrepreneurs. This mixed methods research combined quantitative research and the qualitative research. The qualitative research applied questionnaires to collect data which the sample was the systematic random sampling. The participants who responded questionnaires were 371 tourism entrepreneurs from various tourism organizations or companies. The data analysis included percentage, average, standard deviation and independent t-test and f-test. In relation to the qualitative research, in-depth interviews with 23 stakeholders were used and the arranged meetings with 20 participants was organized to brainstorm of the proposed policies. The result of this research found that three tourism business types: Company Limited, Limited Partnership and Proprietorship indicated low levels of the competency for tourism management. Furthermore, the statistics were analyzed the three types of business and the results again presented low levels of the competency for tourism management with the difference averages. These were caused by positions, experiences, net income of entrepreneurs. The three types of tourism business were registered by low under dissimilar business titles, however, there were only differences among them in terms of various internal management methods. TOWS Matrix was employed to analyze and designate to 4 strategic plans and 11 strategies to identify the competency development for tourism management of entrepreneurs as follows; Strategic 1: To enhance the standard management of entrepreneur to international level with 3 strategies 1) good governance for international leaderships 2) creative learning 3 strengthens staff for future changes. Strategic 2: To collaborate business with sustainability and stability together using 2 strategies 1) learning and living on the basis of understanding cultural difference 2) embracing business Alliance strategies. Strategic 3: To promote and develop the integrated tourism management innovation by using 3 strategies 1) creating and adding value 2) Integrated marketing 3) Sustainable tourism management. Strategic 4: To create and adapt administrative systems in tourism management of the government on sustainable tourism development through 3 strategies 1) tourism stability 2) Logistic management for tourism 3) broadening for ASEAN opportunity.
Description: 54604836 ; สาขาวิชาการจัดการ -- อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/229
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5460483อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุก6.pdf19.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.