Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2306
Title: SCHOOL ADMINISTRATION BASED ON THE SUFFICIENCY ECONOMY OF PITTAYALONGKRONPITTAYAKOM SCHOOL
การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม
Authors: Pinit KRUALAO
พินิจ เครือเหลา
Vorakarn Suksodkitw
วรกาญจน์ สุขสดเขียว
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
SCHOOL ADMINISTRATION BASED ON SUFFICIENCY ECONOMY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to know 1) school administration based on the sufficiency economy of Pittayalongkornpittayakom school 2) development guidelines for school administration based on the sufficiency economy of Pittayalongkornpittayakom School. The population comprised a school administrator, 4 chiefs of section and 25 teachers. There were 30 respondents. The research instruments were questionnaire and structured interview concerning school administration based on the sufficiency economy according to supervision guidelines from Ministry of Education (MOE). The statistical used to analyze the data were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean (μ), standard deviation (σ) and content analysis. The findings of this research were as follows: 1. School administration based on the sufficiency economy of Pittayalongkorn pittayakom school, collectively and individually, was at a high level. Ranking from the highest to the lowest mean as follow: human resource development of school, curriculum development, school management and learner development activities. 2. The development guidelines for school administration based on the sufficiency economy of Pittayalongkornpittayakom school about learning activities management were 1) enhancing understanding about learner development activities to teachers 2) enhancing learner development activities 3) developing guidance and children counseling in school and 4) determining guidelines for learner development activities.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 รวมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 4 คน และครูผู้สอน จำนวน 25 คน ทั้งนี้ไม่รวมผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากเอกสารแนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคมโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และ 4) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคมในด้านที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) สถานศึกษามีการส่งเสริมการดำเนินงานนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ผู้บริหารส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และ 4) สถานศึกษากำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2306
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58252381.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.