Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2318
Title: The Development of Critical Reading Ability of Matthayomsuksa 3 Students by using Active Learning
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
Authors: Nattawadee THATDEE
ณัฐวดี ธาตุดี
NATTHAKIT SIRIWATTANATAKUN
ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้เชิงรุก
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
LEARNING ACTIVITIVES MANAGEMEANT
ACTIVE LEARNING
CRITICAL READING ABILITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to study the ability of the active learning at the criteria of 80 percent 2) to compare matthayomsuksa 3 students of critical reading ability between pre and post learning by using the active learning 3) to investigate the opinions of the matthayomsuksa 3 students towards the learning management of active Learning. The sample of this research was 35 students from matthayomsuksa 3/5 students in Kanchanapisekwitayalai Suphanburi School of the first semester in academic year 2018 selectting by sampling random. The research instruments include pre and post critical reading abilities test, lesson plans, questionnaires on students opinions toward active learning management. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent and the criteria of 80 percent with t-test one sample. The research results were: 1) The scores were significantly at the 0.05 level. The result of the active learning management according to the criteria of 80 percent with t-test one sample the student passed 80 percent with mean score of 24.82 2) The results of comparison of the development of critical reading ability of mathayomsuksa 3 students (x̄ = 24.82  SD = 1.83) t value is 22.24. Significantly higher than before learning at the level of 0.05 3) The results of questionnaires of students with active learning found that active learning activities good level by learning atmosphere and benefits received by all aspects (x̄ = 4.13, S.D.= 0.72)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2. เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ  3. ศึกษาความคิดเห็นของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน 35 คน ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 2. แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (x̄) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และผลการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยใช้ t-test one sample ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยใช้ t-test one sample พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็น x̄ = 24.82 และ S.D.= 1.83 2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (x̄ = 24.82 และ S.D.= 1.83) ค่า t เท่ากับ 22.24 ซึ่งพบว่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลการตอบแบบสอบถามของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ โดยภาพรวมทุกด้าน (x̄ = 4.13, S.D.= 0.72)  
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2318
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58255304.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.