Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2323
Title: The Study of Mathayomsuksa Five Students' LearningAchievement and Geographic Ability on Learning Collaborationfor Solving Environmental Crisis throughGeographic Inquiry Process
การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้  ร่วมคิด  แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
Authors: Khanatphat BUTSAEN
คณัฏพัส บุตรแสน
Phenphanor Phuangphae
เพ็ญพนอ พ่วงแพ
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
ความสามารถทางภูมิศาสตร์
วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Geographic ability
Learning collaboration through the geographic inquiry process
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research has 3 objectives as followings 1) To compare the achievement of studying in social studies on learning collaboration for solving environmental crisis in pre-study and post-study of Mathayomsuksa Five Students' through geographic inquiry process 2) To study the progress of geographic ability of Mathayomsuksa Five Students' through geographic inquiry process 3) To study the opinion of Mathayomsuksa Five Students' for geographic inquiry process. Representative sample to use in this research is thirty Mathayomsuksa Five Students' in semester 2 of 2018 at Kunnatee Ruttharam Wittayakhom School in Bangkok. Data collection instrument is the achievement test on learning collaboration for solving environmental crisis, the geographic ability test on learning collaboration for solving environmental crisis and the opinion questionnaire of Mathayomsuksa Five Students' on learning collaboration for solving environmental crisis through geographic inquiry process instrument of experiment is the three scheme of learning collaboration through geographic inquiry process for solving environmental crisis analyzed the data by finding the average, standard deviation, and test the rate of dependence. The research findings of the study were as follows : 1. The achievement of study on learning collaboration for solving environmental crisis in post-study of  Mathayomsuksa Five Students' after learning through the geographic inquiry  process is higher than pre-study in the statistic significance at .05 2. The geographic ability of  Mathayomsuksa Five Students' during obtaining the learning collaboration by geographic inquiry process is higher. 3. The opinion of  Mathayomsuksa Five Students' through the geographic inquiry process has the average rate at the excellence level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ 2) ศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม แบบวัดความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ หน่วยที่ 4 เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมจำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเรียนรู้ และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2. ความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้น 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2323
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58262302.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.