Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2337
Title: | The Scenario of Basic Education Municipality School Board ภาพอนาคตคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล |
Authors: | Siriporn INJAIEUAR ศิริพร อินทร์ใจเอื้อ Prasert Intarak ประเสริฐ อินทร์รักษ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | ภาพอนาคต คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล THE SCENARIO OF BASIC EDUCATION MUNICIPALITY SCHOOL BOARD |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research were to identify; The Scenario of Basic Education Municipality School Board. There were two steps of research process
1) Documents analysis about the Scenario of Basic Education Municipality School Board, 2) Analyze the Scenario of Basic Education Municipality School Board by using the ethnographic delphi future research techniques. The instrument for collecting the data was In - Depth interviews, and opinionnaire. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, median, mode and interquartile range.
The research findings were as follows: The Scenario of Basic Education Municipality School Board consists of 6 aspects, 1) Philosophy and origin: it should have a screening committee, The acquisition must be in accordance with laws, the committee should came from differences organization, 2) School board qualification: it should set a minimum qualification under knowledge background and understanding in education management, they should be free at work, 3) The composition or structure: it should add a director in the parent’s representative section State Enterprise Agents and Private Agents, 4) Roles and duties: The school board should participation in the study process in every step, participate in educational resource mobilization, it should receive compensation as morale, 5) Related laws: it should have revenant laws, which defined as the guidelines for managing education according to local context and 6) Supervise, monitoring and evaluation: They should have monitoring for the operations of educational institutions and school administrators, and evaluate the overall educational management of the municipality. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบภาพอนาคตคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับภาพอนาคตคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล 2) วิเคราะห์ภาพอนาคตคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต EDFR เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพอนาคตคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านปรัชญาและที่มา ควรมีคณะกรรมการกลั่นกรองที่มาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การได้มาซึ่งคณะกรรมการสถานศึกษาต้องเป็นไปตามกฎหมายและควรจะมาจากหลากหลายองค์กร 2) ด้านคุณสมบัติ ควรกำหนดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษา ต้องเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิด 3) ด้านองค์ประกอบหรือโครงสร้าง ควรเพิ่มกรรมการในส่วนของตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนรัฐวิสาหกิจ และตัวแทนภาคเอกชน 4) ด้านบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษาในทุกขั้นตอน ต้องมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ควรได้รับค่าตอบแทนเป็นขวัญและกำลังใจ 5) ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามบริบทของท้องถิ่น 6) ด้านการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ต้องกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกันประเมินผลการจัดการศึกษาในภาพรวมของเทศบาล |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2337 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59252922.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.