Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2361
Title: A study of urban expansion pattern of regional university town: A case study of the urban communities surrounding the new campus of Mahasarakham University.
การศึกษาแบบแผนของการขยายตัวของพื้นที่เมืองของเมืองมหาวิทยาลัยภูมิภาค กรณีศึกษา ชุมชนเมืองที่อยู่รอบวิทยาเขตใหม่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Authors: Chonticha KAMBUPPA
ชลธิชา คำบับภา
THANA CHIRAPIWAT
ธนะ จีระพิวัฒน์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: แบบแผน
การขยายตัวของพื้นที่เมือง
เมืองมหาวิทยาลัยภูมิภาค
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Pattern
Buildup Area
Regional University Town
Mahasarakham University
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research is to study the changes in the physical spatial elements of communities surrounding a regional University. The physical and spatial elements include land use, building use, and transportation network. The changes of these elements range over 10 years between 2006 to 2016. Communities arounding Mahasarakham University were used as the study area. Analysis of changes of physical and spatial elements reveal pattern of urban settlements, land use, urban structure, and their changing patterns. Geographic information systems (GIS) was used to collect, edit, analyze the data. The results of study showed that in the past 10 years after the establishment of Mahasarakham University Kham Riang changes occurred in all elements-land use, building use, and transportation network. There was a significant change in land use form agricultural to urban uses, as much as 15.04 percent of the research area, followed by changes from forest to urban uses. up to 2.21 percent of the research area. This land use change trend was consistent whit the changes to building use. There was an increase of residential buildings, up to 72.67 percent of the research area, especially single-detached houses and single family houses to 2,072 buildings, followed by 1-3 storey office buildings and townhouses. Moreover, there was an increase in road network, especially 6-meter wide of 1-2 lanes sub-roads or alleys. Majority of these roads expanded from the National Highway No. 2202 and Mahasarakham University - Ban Don Yom Road. As a result, the highest density of the buildings clustered along these major roads. It showed that the pattern of the expansion of the most urban areas during the transition period was rapidly expanding horizontally in a linear pattern along the road network. This pattern appeared clearly on the national highway No. 2202 and Mahasarakham University - Ban Don Yom Road.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเชิงพื้นที่ทางด้านกายภาพของชุมชนเมือง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเชิงพื้นที่ทางด้านกายภาพของเมือง ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์อาคาร และโครงข่ายคมนาคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2549-2559) เพื่อที่จะเข้าใจกระบวนการเติบโตของเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่แสดงลำดับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เมืองหรือรูปแบบ (Pattern) ของการขยายตัวของพื้นที่เมือง การศึกษาปรากฎการณ์ดังกล่าวใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่และการเปลียบเทียบสถิติด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการทำแผนที่เชิง ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเชิงพื้นที่ทางด้านกายภาพของเมือง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคาร และการเปลี่ยนแปลงโครงข่ายคมนาคม ในช่วง 10 ปี ภายหลังจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด ถึงร้อยละ 15.04 ของพื้นที่วิจัย รองลงมาคือ การการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ถึงร้อยละ 2.21 ของพื้นที่วิจัย ซึ่งสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์อาคารที่มีการเพิ่มขึ้นของอาคารประเภทที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึงร้อยละ 72.67 ของพื้นที่วิจัย โดยเฉพาะอาคารบ้านเดี่ยว/อาคารเดี่ยว เพิ่มมากที่สุดถึง 2,072 หลัง รองลงมาคืออาคารสำนักงาน และทาวน์เฮ้าส์ ที่มีความสูงของอาคารอยู่ในช่วงระหว่าง 1-3 ชั้น มากที่สุด และมีการเพิ่มขึ้นของโครงข่ายถนนโดยเฉพาะถนนย่อยหรือซอยที่มีขนาด 1-2 ช่องจราจร และมีความกว้างของถนน 6 เมตร ถนนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขยายตัวออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2202 และถนนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม-บ้านดอนยม ทำให้พื้นที่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2202 ช่วงบ้านท่าขอนยาง-มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และช่วงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม-บ้านามเรียง มีความความหนาแน่นของกลุ่มอาคารมากที่สุด เมื่อพิจารณาการขยายตัวของพื้นที่เมืองร่วมกับโครงข่ายถนนที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่า ลักษณะของการขยายตัวของพื้นที่เมืองส่วนใหญ่ในระยะการเปลี่ยนแปลงจะขยายตัวอย่างรวดเร็วในแนวราบลักษณะเป็นแนวยาว (Linear Pattern) ตามโครงข่ายถนน รูปแบบนี้จะปรากฏชัดเจนบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2202 และถนนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม-บ้านดอนยม ซึ่งเป็นถนนที่มีความหนาแน่นของอาคารและสิ่งปลูกสร้างจากการพัฒนาธุรกิจ การค้า เพื่อรองรับการบริการทางด้านการศึกษา
Description: Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2361
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58058305.pdf16.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.