Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2376
Title: Study of Aging Behavior and Social for New Media Design Promoting Sustainable and Valuable Life
การศึกษาสังคม และพฤติกรรมผู้สูงวัยยุคใหม่ เพื่อการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืน
Authors: Kritsadis SONGVIPHON
กฤษณ์ดิศ ทรงวิผล
Rueanglada Punyalikhit
เรืองลดา ปุณยลิขิต
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ผู้สูงวัยยุคใหม่
Gen I
สื่อสร้างสรรค์
การใช้ชีวิตที่มีคุณค่า
new age
Gen I
creative media
valuable living
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to discover a method to promote sustainable valued living in life through creative media design. Thailand is moving toward the complete aged society in 2564 B.E.; which is accounted for 20 per cent of the total population in the future.  From this transformation leads to the study on modern society and behavior of older people. The data showed that the changes in the social context cause the remodeling of the living-life concept of senior people.  The change offers detachment to the age and the concept of retirement; although the physique is ageing, the importance is focused on the state of mind that comes from a sense of independence which free of making a living and parental responsibilities and starting a new life in a self-satisfied. This conceptual idea constructs a new definition “Generation Independent”, which is shortened as “Gen I” and described as a young-at-heart elderly person who is physically and mentally healthy, fully aware of the self-value, and contribute to society.  Their needs and lifestyle are defined as seven models of minds which are active mind, social mind, family mind, nature mind, artistic mind, charitable mind, and outgoing mind. The analysis leads to the creative media design entitled “Young-At-Heart Community”. A new platform established under the concept of “Passion Life’s: I Design” that offers an area of independency for Gen I elderly people to design their own lives. From the experiment, the result showed that elderly people could live with sustainable values and self-esteem and especially with the meaning of life. Participants who join the program “Young-At-Heart Community” will receive a model of living in powerful life through “Young-At-Heart Series” and can contribute to society by sharing knowledge and experiences via Live streaming which is rapid responsive. The model gives happiness from giving and taking in the meantime, which is related to Maslow’s hierarchy of needs.  The design process came from the synthesis of the effectiveness of the creative media and brought to be experimented and evaluated from a social media channel.  The design presents the community of role models, promotes the model of well-being, generates a new perspective of the senior community and expands from small social groups to a network of new and powerful senior community endlessly.
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาแนวทางส่งเสริมการใช้ชีวิตที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืนด้วยการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ เนื่องจากในปีพ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จึงเป็นที่มาของการศึกษาสังคมและพฤติกรรมของผู้สูงวัยยุคใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคมทำให้ผู้สูงวัยยุคใหม่มีแนวคิดในการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ยึดติดกับอายุและมโนทัศน์เก่าของการเกษียณอายุ ที่แม้สภาพร่างกายที่กำลังร่วงโรยแต่ความสำคัญจะอยู่ที่สภาพจิตใจที่มาจากความรู้สึกที่อิสระ หมดภาระการทำงานและหน้าที่การเป็นผู้ปกครอง และพร้อมเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแบบที่ตนเองพึงพอใจ ทำให้เกิดนิยามใหม่ Generation Independent หรือ “GEN I หรือ คนใจรุ่น” ที่แข็งแรงทั้งกายและใจ รู้คุณค่าในตัวเองและพร้อมทำประโยชน์ให้สังคม ซึ่งความต้องการและรูปแบบการใช้ชีวิต สามารถแบ่งได้ 7 แบบ ได้แก่  ใจแอคทีฟ ใจโซเชียล  ใจแฟมมิลี่  ใจเนเจอร์ ใจศิลป์ ใจบุญ และใจเที่ยว  จากการวิเคราะห์นี้จึงนำมาสู่การออกแบบสื่อสร้างสรรค์ “ใจรุ่น Community”  Platform ภายใต้ แนวคิด Passion Life’s: I Design พื้นที่อิสระให้คน GEN. I ใจรุ่นได้ออกแบบชีวิตตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งผลจากการทดลองพบว่า ผู้สูงวัยไม่ว่าจะรุ่นหรือยุคใด สามารถใช้ชีวิตที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืนได้ ด้วยการรู้คุณค่า มีความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) และเห็นความหมายในการมีชีวิต กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ “ใจรุ่น Community” จะได้รับแนวทางการใช้ชีวิตที่มีพลังจากการให้ความรู้ผ่าน “ใจรุ่นซีรีย์” และสามารถส่งต่อแนวคิดที่มีคุณค่า รวมถึงสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้ด้วยการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ผ่านการแพร่ภาพสดที่ได้ผลตอบรับอย่างรวดเร็ว เพื่อก่อเกิดความสุขจากการให้และได้รับที่สอดคล้องกับทฤษฎีความพึงพอใจของมาสโลว์ กระบวนการออกแบบในการวิจัยมาจากการสังเคราะห์ประสิทธิผลจากสื่อสร้างสรรค์ และนำไปทดลองใช้งานและวัดผลผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ เกิดเป็นการสร้างสังคมที่ประกอบไปด้วยบุคคลต้นแบบ ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยได้แนวทางใช้ชีวิตที่มีคุณค่า  ตลอดจนสร้างมโนทัศน์ใหม่ให้สังคมผู้สูงวัย นำไปสู่การขยายขอบเขตสังคมย่อยเฉพาะกลุ่มนี้จนเป็นเครือข่ายสังคมผู้สูงวัยยุคใหม่ที่เข้มแข็งและไม่มีที่สิ้นสุด
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2376
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60156301.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.