Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2382
Title: Traditional wisdom in graphic design through E-San dining at the international level: A case study of Baan Huakua Tambon Kaedam Amphoe Kaedam Mahasarakham
การออกแบบเรขศิลป์เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานสู่สากล กรณีศึกษา บ้านหัวขัว  ตำบลแกดำ  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Atchara KAEWDUANGDEE
อัจฉรา แก้วดวงดี
Rueanglada Punyalikhit
เรืองลดา ปุณยลิขิต
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ประเพณี
ภูมิปัญญา
การออกแบบเรขศิลป์
Traditional
Wisdom
Graphic Design
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Food is what people eat to live and dining is an activity that people do after hunting and cooking so far. While eating is a common activity of people globally, types of food and dining culture can be different from region to region due to geographical factors or weather. Thailand Northeastern region or “E-san” also has it’s own distinctive dining culture. The objective of the thesis “Traditional wisdom in graphic design through E-san dining at the international level: A case study of Bann Huakua, Tambon Kaedam, Kaedam District, Mahasarakham Province” is to study dining culture of the E-san people in the past in the following aspects: 1) Food ingredients and decorative materials: organic vegetable, wetlands fish, and local decorative flowers. 2) Cooking tools and containers: Kratib (woven bamboo container), clay pot, clay plate, mortar, dipper made from coconut shell, leaves. 3) Table Manners: Putting food bowls on the tray instead of a table, eating sticky rice with fingers, eating on the floor. 4) Effects of traditional festivals to dining cultures such as Boon Pha Wet (Buddhist ceremony to celebrate the return of Lord Buddha), Boon Bang Fai (Rocket Festival), and Boon Khao Jee (A festival that people give the monks grilled sticky rice battered with egg and salt). The thesis is also aimed to utilize designing skills and implement the theory of Identity, Perception, Aesthetic, and Table-top styling to enhance the attractiveness of E-san dining, making it more interesting and contemporary yet still maintain its unique local style. This study shows that by applying the knowledge of graphic design to the local E-san dining culture can effectively present E-san traditional wisdom to the international and promote interaction between locals and none-local people.
          อาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการยังชีพมาตั้งแต่เกิด และการรับประทานอาหารก็เป็นกิจกรรมที่มนุษย์ปฏิบัติกับอาหารที่พวกเขาหาและปรุงมาอย่างยาวนานเช่นกัน  พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนทั่วโลก  แต่ลักษณะทางกายภาพของโลกทั้งสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ  ทำให้อาหารและการรับประทานอาหารของแต่ละพื้นที่ในโลกแตกต่างกัน  เกิดเป็นวัฒนธรรมการกินของพื้นที่นั้นๆ ขึ้นมา  ซึ่งรวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานในประเทศไทยเช่นกัน           วิทยานิพนธ์เรื่อง การออกแบบเรขศิลป์เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสาน กรณีศึกษา  บ้านหัวขัว  ตำบลแกดำ  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรมและอาหารการกินของชาวอีสานในประเทศไทยตั้งแต่อดีต  ไม่ว่าจะเป็นที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร  ได้แก่  ผักปลอดสารพิษ  ปลาในหนองน้ำธรรมชาติ  และดอกไม้ในท้องถิ่น  ภาชนะที่ใช้ปรุงและใส่อาหาร  ได้แก่  กระติบข้าว  หม้อดินเผา  ถ้วยดินเผา  ครกหิน  ขันน้ำ  และใบไม้ต่างๆ    วิธีการรับประทานอาหาร  ได้แก่  การรับประทานอาหารในสำรับ  การใช้มือเปิบข้าวเหนียว  การนั่งรับประทาน­­­อาหารกับพื้น  และการล้อมวงกันรับประทานอาหาร  รวมถึงประเพณีสำคัญของชาวอีสานตามฤดูกาล  คือ  ฤดูร้อน  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  ได้แก่  ประเพณีบุญผะเหวด  ประเพณีบุญบั้งไฟ  และประเพณีบุญข้าวจี่  ตามลำดับ  ซึ่งศึกษาในพื้นที่บ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม  และนำข้อมูลที่ศึกษาเหล่านี้ไปประยุกต์ให้การรับประทานอาหารอีสานมีรูปแบบที่ร่วมสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น  โดยใช้ทักษะทางการออกแบบเรขศิลป์  อันได้แก่  การออกแบบการจัดตกแต่งบนโต๊ะอาหาร  การออกแบบการกินอาหารอีสานให้ทันสมัยแต่ยังคงกลิ่นอายความเป็นพื้นบ้านอยู่  และการนำวัสดุภายในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งอาหาร  ควบคู่กับแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆ  ได้แก่  ทฤษฎีการออกแบบอัตลักษณ์ (Identity)  ทฤษฎีการรับรู้ (Perception Theory)  หลักทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle)  และหลักการจัดตกแต่งโต๊ะอาหาร (Principle of table-top styling)  เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานดังกล่าวออกสู่ภายนอกในระดับสากล           โดยผลการศึกษาตอบสมมติฐานที่ว่าการใช้ความรู้ด้านการออกแบบเรขศิลป์ สามารถนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานออกสู่ภายนอก  และเกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนกับผู้คนภายนอกผ่านการนำเสนอนี้ได้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2382
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60156318.pdf14.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.