Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2383
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Pipat URAKANE | en |
dc.contributor | พิพัฒน์ อุรเคนทร์ | th |
dc.contributor.advisor | Phuvanat Rattanarungsikul | en |
dc.contributor.advisor | ภูวนาท รัตนรังสิกุล | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Decorative Arts | en |
dc.date.accessioned | 2020-01-06T05:49:55Z | - |
dc.date.available | 2020-01-06T05:49:55Z | - |
dc.date.issued | 29/11/2019 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2383 | - |
dc.description | Master of Fine Arts (M.F.A.) | en |
dc.description | ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to create an art activity program from a concept of art as therapy and to devise models of services and prototyped series of art kits which supports the program within the project ‘SPEAK’ to raise self-esteem in children from dysfunctional families. A combination of the art as therapy concept and the positive psychology framework were integrated and functionally constructed to be the inspired art activity program that replenishes self-esteem in troubled children. Furthermore, in order to beneficially achieve the objective, the creation of supportive art kits and services that originated from program outcomes should also be practically joined. In the research, subjects aged nine to seventeen and confronted with the broken family problem were divided into 2 sample groups (10 children per group). They were under the care of Baan Kevin, Bangkok as group 1 and Baan Mittaphap, Nongkhai as group 2. Subjects in group 1 experimentally received an art activity program; meanwhile, subjects in group 2 empirically obtained an art activity program also with the prototype of art kit series utilization. All subjects were tested by Rubin’s Self-Esteem Scale, before and after the experiment. The data were analyzed by descriptive statistics. Results are described as; the experiment of art activity program in group 1 and group 2 and the art kit prototype utilization in group 2 for enhancing self-esteem, subjects within group 1 have the mean of self-esteem score after the experiment at 155.10, which higher than before the experiment at 97.30 and differentiation value at 2.53. While subjects within group 2 have the mean of self-esteem score after the experiment at 156.90, which higher than before the experiment at 131.30 and differentiation value at 2.78. All subjects have their self-esteem level increased. | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการสร้างรูปแบบกิจกรรมศิลปะจากองค์ความรู้ศิลปะเพื่อการบำบัด (Art as Therapy) และสร้างสรรค์ผลงานแนวทางการออกแบบบริการและผลิตภัณฑ์ต้นแบบชุดเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมศิลปะภายในโครงการ SPEAK เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่เด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว ผู้วิจัยได้นำศาสตร์แห่งศิลปะเพื่อการบำบัดและการประยุกต์หลักการของจิตวิทยาด้านบวกมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบกิจกรรมศิลปะเชิงสร้างสรรค์และนันทนาการที่สามารถสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่เด็กเหล่านี้ อีกทั้งผู้วิจัยยังเล็งเห็นถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการออกแบบในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบชุดเครื่องมือกิจกรรมศิลปะและแนวทางการออกแบบบริการภายในโครงการ SPEAK ที่มาจากผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายของงานวิจัยอีกทางหนึ่งด้วย ในการวิจัยนี้จะทำในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นเด็กอายุ 9-17 ปี ที่ล้วนประสบปัญหาครอบครัว และอยู่ในการดูแลของโครงการช่วยเหลือและพัฒนาเยาวสตรีบ้านเควิน จังหวัด กรุงเทพมหานคร (กลุ่มที่ 1) และโครงการเพื่อนชาวบ้านหรือบ้านมิตรภาพ จังหวัด หนองคาย (กลุ่มที่ 2) จำนวนกลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มที่ 1 จะได้ทดลองรูปแบบโปรแกรมกิจกรรมศิลปะ และกลุ่มที่ 2 จะได้ทดลองรูปแบบโปรแกรมกิจกรรมและใช้งานผลิตภัณฑ์ต้นแบบชุดเครื่องมือกิจกรรมศิลปะ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้รับการประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองด้วยเครื่องมือ Rubin’s Self-Esteem Scale ทั้งในระยะก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการทดลองรูปแบบกิจกรรมศิลปะในกลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 และทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์ต้นแบบชุดเครื่องมือกิจกรรมศิลปะในกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนที่ได้จากการทดสอบการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 หลังการทดลอง (M= 155.10) สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลอง (M= 97.30) ค่าความแตกต่างอยู่ที่ 2.53 และในกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลอง (M= 156.90) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง (M= 131.30) ค่าความแตกต่างอยู่ที่ 2.78 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่างทุกคนได้เพิ่มขึ้นตามจุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ศิลปะเพื่อการบำบัด/ การเห็นคุณค่าในตนเอง/ รูปแบบกิจกรรมศิลปะ/ ชุดเครื่องมือกิจกรมศิลปะ | th |
dc.subject | ART AS THERAPY / SELF-ESTEEM / ART ACTIVITIES / ART KITS | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | Innovative Creation of Design Art from Art as Therapy Concepts to Raise Self-Esteem in Children from Dysfunctional Family | en |
dc.title | การสร้างนวัตกรรมศิลปะการออกแบบจากองค์ความรู้ศิลปะเพื่อการบำบัดเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่เด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60156323.pdf | 14.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.