Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2401
Title: SCHOOL-BASED MANAGEMENT OF HUAYKRAJAOPITTYAKOM SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 
Authors: Wassana SEEDAENG
วาสนา สีแดง
Nuchnara Rattanasiraprapha
นุชนรา รัตนศิระประภา
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
SCHOOL- BASED MANAGEMENT
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract:     The objectives of this research were to determine 1) the school-based management of Huaykrajaopittakom School under The Secondary Educational Service Area Office 8 2) development  guidelines for school-based management of Huaykrajaopittakom School under The Secondary Educational Service Area Office 8. The sample consisted of the administrators and teachers totally 36 persons. The instruments were the checklist questionnaire and the structured interview. The Statistics used in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis.  The research results were as follow:  1. The school-based management of Huaykrajaopittakom School under The Secondary Educational Service Area Office 8, were at the high level overall. Consideration in  each aspect found that 3 aspects were at the highest level and 2 aspect were at the high level by descending respective arrangement based on the Arithmetic Mean Values: ranking from the highest mean to the lowest mean as follow: Self-managing, Return Power to People, Decentralization, Check and Balance and Participation or Collaboration or Involvement.   2. The development guidelines for school-based management of Huaykrajaopittakom School under The Secondary Educational Service Area Office 8. There were 5 methods: 1) Decentralization, the school should be independent managing based on the concept of the school is the important operation unit for education management. 2) Participation or Collaboration or Involvement, more supporting the education management participation. 3) Return Power to People, promote the education management  by community for appropriate to the local context. 4) Self-managing, encouraging the school could be designate the school management in various ways depend on local culture and context and based on the government policy. There are many ways for school-based management. 5) Check and Balance, the government should impose the educational policy and control the standards, checking the education quality and standard by the independent organization.
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 และ 2) แนวทางการส่งเสริมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 เพื่อจำแนกข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม  ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8  จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน และ อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักการบริหารตนเอง  หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน หลักการกระจายอำนาจ  หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล และหลักการมีส่วนร่วม 2. แนวทางในการส่งเสริมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 มี  5 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ ควรมีการส่งเสริมเรื่องการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่า โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา จึงควรมีอำนาจมีอิสระในการตัดสินใจดำเนินการ 2) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรมีการส่งเสริมเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาทั้งครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียนมากกว่านี้ 3) ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ ควรมีการส่งเสริมเรื่องการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ความเจริญต่าง ๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง 4) ด้านหลักการบริหารตนเอง ควรส่งเสริมเรื่องระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นทำได้หลายวิธี  และ 5) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ควรส่งเสริมให้ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามนโยบายของชาติ
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2401
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57252356.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.