Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2433
Title: A SYSTEMATIC REVIEW AND META-ANALYSIS OF THE EFFECTIVENESS OF POWERED VERSUS MANUAL TOOTHBRUSH FOR ORAL HEALTH
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของแปรงสีฟันไฟฟ้าและแปรงสีฟันธรรมดาต่อสุขภาพช่องปาก 
Authors: Wipakul WONGCHACHOM
วิภากุล วงษ์ชาชม
NATTIYA KAPOL
ณัฏฐิญา ค้าผล
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: แปรงสีฟันไฟฟ้า
แปรงสีฟันธรรมดา
สุขภาพช่องปาก
Powered toothbrush
Manual toothbrush
Oral health
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Objectives: This systematic review and meta-analysis aimed to determine the effectiveness of powered versus manual toothbrush for oral health in several groups of persons and patients. Method: Published articles were searched from electronic databases including Pubmed, The Cochrane Library, Scopus, ThaiLis, TCI, HITAP as well as hand searching. We systematically searched studies published from inception to October 2018 and evaluated quality of studies based on Cochrane risk of bias. Results: Sixty-six trials met the inclusion criteria. All recruited studies were separated to 5 groups based on the characteristics of the participants including children, disabilities and elderly persons, patients with fixed orthodontic appliances, gingivitis patients and other orthodontic patients. The reduction of plaque index, gingival and bleeding index and calculus index were used to measure the effectiveness of plaque removal, gingivitis and calculus removal respectively. In long term study (>3 months), the result showed no statistical difference between powered and manual toothbrushes with regarding to the reduction of plaque, gingivitis and calculus in gingivitis patients. In short term study (1-3 months), the result showed no statistical difference between powered and manual toothbrushes with regarding to the reduction of plaque. However, in gingivitis patients showed a statistically different benefit (SMD = 2.50 (95% CI = 1.59, 3.42), P <0.00001).With regarding to gingivitis, the powered toothbrush provided a statistically different benefit compared with manual toothbrush in children (MD = 0.04 (95% CI = 0.02, 0.05), P <0.00001) disabilities and elderly persons (SMD = 1.84 (95% CI = 0.32, 3.37), P = 0.02) patients with fixed orthodontic appliances (SMD = 0.86 (95% CI = 0.20, 1.52), P = 0.01) and gingivitis patients (SMD = 1.62 (95% CI = 0.94, 2.29), P <0.00001). With regarding to the reduction of calculus, the results showed no statistical difference between powered and manual toothbrushes in gingivitis patients. Conclusion: Powered toothbrush reduces gingivitis more than manual toothbrush in persons with special need and orthodontic patients. However, the effectiveness of the reduction of plaque showed no statistical difference between powered and manual toothbrushes.
วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลเปรียบเทียบประสิทธิผลของแปรงสีฟันไฟฟ้าและแปรงสีฟันธรรมดาต่อสุขภาพช่องปากในประชากรและผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ วิธีการ: สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลต่างๆทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้แก่ Pubmed, The Cochrane Library, Scopus, ThaiLis, TCI, HITAP ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และเอกสารอ้างอิงของงานวิจัยที่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่ทำการศึกษาก่อนหน้า โดยสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ เริ่มมีฐานข้อมูลจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 และประเมินคุณภาพงานวิจัยตามแนวทางของ Cochrane risk of bias ที่ระบุใน PRISMA guideline ผลการวิจัย: พบงานวิจัยที่สอดคล้องกับเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 66 งานวิจัย จำแนกตามกลุ่มประชากรเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยจัดฟันชนิดติดแน่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ และกลุ่มผู้ป่วยทางทันตกรรมอื่นๆ ใช้ค่าเฉลี่ยการลดลงของดัชนีคราบจุลินทรีย์ วัดประสิทธิผลในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ ค่าเฉลี่ยการลดลงของดัชนีสภาพเหงือกและดัชนีการมีเลือดออกของเหงือก วัดประสิทธิผลในการลดการเกิดเหงือกอักเสบ และค่าเฉลี่ยการลดลงของดัชนีหินน้ำลาย วัดประสิทธิผลในการลดปริมาณหินน้ำลาย ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า ในการศึกษาระยะยาว มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ แปรงสีฟันไฟฟ้าและแปรงสีฟันธรรมดาสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ ลดการเกิดเหงือกอักเสบ และลดปริมาณหินปูนได้ไม่แตกต่างกัน ในการศึกษาระยะสั้น 1-3 เดือน พบว่า ในกลุ่มเด็ก กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยจัดฟันชนิดติดแน่น แปรงสีฟันไฟฟ้าและแปรงสีฟันธรรมดาสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ไม่แตกต่างกัน แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ พบว่า แปรงสีฟันไฟฟ้าสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ดีกว่าแปรงสีฟันธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (SMD = 2.50 (95% CI = 1.59, 3.42), P <0.00001) ประสิทธิผลในการลดการเกิดเหงือกอักเสบ พบว่า แปรงสีฟันไฟฟ้าสามารถลดการเกิดเหงือกอักเสบได้ดีกว่าแปรงสีฟันธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มเด็ก (MD = 0.04 (95% CI = 0.02, 0.05), P <0.00001) กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ (SMD = 1.84 (95% CI = 0.32, 3.37), P = 0.02) กลุ่มผู้ป่วยจัดฟันชนิดติดแน่น (SMD = 0.86 (95% CI = 0.20, 1.52), P = 0.01) และกลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ (SMD = 1.62 (95% CI = 0.94, 2.29), P <0.00001) ประสิทธิผลในการลดปริมาณหินน้ำลาย พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ แปรงสีฟันไฟฟ้าและแปรงสีฟันธรรมดาสามารถลดปริมาณหินน้ำลายได้ไม่แตกต่างกัน สรุป: ในกลุ่มคนที่มีความต้องการพิเศษและกลุ่มผู้ป่วยทางทันตกรรม แปรงสีฟันไฟฟ้ามีประสิทธิผลในการลดการเกิดเหงือกอักเสบได้ดีกว่าแปรงสีฟันธรรมดา แต่ประสิทธิผลในการกำจัดคราบจุลินทรีย์และลดปริมาณหินน้ำลายไม่แตกต่างกัน
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2433
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57352307.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.