Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2438
Title: Development of Rational Antibiotics Usage Programand Effect of Its Implementation at In-patient DepartmentBangpakong Hospital
การพัฒนาโปรแกรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและผลของการนำโปรแกรมไปใช้ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบางปะกง 
Authors: Arpassara KAEWTHAI
อาภัสรา แก้วไทย
NUNTHALUXNA STHAPORNNANON
นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
Rational antibiotics use
Rational antibiotics use guideline
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The rational Antibiotics usage program with pharmacist participation (rATB-P-P) was developed by 3 experts including both pharmacist and physicians then implemented at Bangpakong hospital. The main objective of this study was to evaluate the effects of rATB-P-P in 4 issues including de-escalation therapy (DT), dose adjustment (DA), intravenous to oral drug (IV to PO) and duration of treatment (DOT). The prospective with historical control study was conducted at in-patient department. Samplers were in-patients who received 5 antibiotics either ceftriaxone, ceftazidime, amoxicillin/clavulanic acid, piperacillin/tazobactam (PIP/TAZO) or meropenem. Prospective study was assessed between October 2018 to January 2019 (group 2) and historical control group were retrospective study done between May to August 2018 (group 1). There were 194 events in group 1 and 181 events in group 2. The effects of rATB-P-P presented that in group 2, ATB were prescribed more appropriated with statistical significance (P<0.05) compared to group 1 in 3 issues; DA (injected; 96.9% of group 1 to 100.0% of group 2 and oral; 76.2 to 100.0%) IV to PO (62.3% of group 1 to 96.2% of group 2) and DOT (76.1% of group 1 to 96.0% of group 2) but DT was not different statistically (group 1 and 2 were 91.7 and 95.5% respectively). Focus on events which can be evaluated through all 4 issues, the result of appropriateness of ATB prescribed of group 1 was 34.8% and group 2 was 83.3% (P=0.004). Most physicians agreed with pharmacist’s recommendations (72.3%). Treatment outcomes were not different among 2 groups. The quantities of PIP/TAZO and meropenem usage in group 2 were increased since there were more ATB resistant bacteria. In conclusion, rATB-P-P which was developed were effective and practical for Bangpakong hospital. After program was implemented, there were more appropriate ATB prescribed especially in DA issue.
โปรแกรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลโดยมีเภสัชกรมีส่วนร่วม (โปรแกรมฯ) ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วยเภสัชกรและแพทย์ จากนั้นนำไปใช้ที่โรงพยาบาล บางปะกง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฯ ใน 4 ประเด็น ได้แก่ การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะหลังทราบผลเพาะเชื้อ ขนาดยาและความถี่ในการให้ยาตลอดการรักษา การเปลี่ยนยาจากชนิดฉีดเป็นชนิดรับประทาน และ ระยะเวลาการใช้ยา ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้าโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในอดีต ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบางปะกง โดยตัวอย่างคือผู้ป่วยในที่ได้รับยาชนิดฉีดใดๆ ใน 5 รายการ ได้แก่ ceftriaxone, ceftazidime, amoxicillin/clavulanic acid, piperacillin/tazobactam และ meropenem ศึกษาแบบไปข้างหน้าระหว่างเดือน ต.ค.2561 ถึง ม.ค.2562 (กลุ่มที่ 2) และ กลุ่มควบคุมในอดีตเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างเดือน พ.ค. ถึง ส.ค.2561 (กลุ่มที่ 1) ผลการนำโปรแกรมฯ ไปใช้พบว่า เหตุการณ์ที่ประเมินในกลุ่มที่ 1 มีจำนวน 194 ครั้ง และ กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 181 ครั้ง ในกลุ่มที่ 2 การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะมีความเหมาะสมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ขนาดยาและความถี่ในการให้ยาตลอดการรักษา (ยาฉีด; ร้อยละ 96.9 ในกลุ่มที่ 1 เป็นร้อยละ 100.0 ในกลุ่มที่ 2, ยารับประทาน; ร้อยละ 76.2 ในกลุ่มที่ 1 เป็นร้อยละ 100.0 ในกลุ่มที่ 2) การเปลี่ยนยาจากชนิดฉีดเป็นชนิดรับประทาน (ร้อยละ 62.3 ในกลุ่มที่ 1 เป็นร้อยละ 96.2 ในกลุ่มที่ 2) และ ระยะเวลาการใช้ยา (ร้อยละ 76.1 ในกลุ่มที่ 1 เป็นร้อยละ 96.0 ในกลุ่มที่ 2) ส่วนการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะหลังทราบผลเพาะเชื้อพบว่า ไม่แตกต่างกัน (กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 คือ ร้อยละ 91.7 และ 95.5 ตามลำดับ) เมื่อคิดเฉพาะเหตุการณ์ที่ประเมินได้ทั้ง 4 ประเด็น ผลความเหมาะสมในทุกประเด็นของเหตุการณ์การสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะของกลุ่มที่ 1 คือ ร้อยละ 34.8 และ กลุ่มที่ 2 คือ ร้อยละ 83.3 ตามลำดับ (P=0.004) ส่วนใหญ่แพทย์ยอมรับข้อเสนอแนะของเภสัชกร (ร้อยละ 72.3) ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้นหรือหายไม่แตกต่างกันในทั้ง 2 กลุ่ม ปริมาณการใช้ยา piperacillin/tazobactam และ meropenem ในกลุ่มที่ 2 เพิ่มขึ้น สรุปผลการศึกษา โปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและนำมาใช้ได้จริงที่โรงพยาบาลบางปะกง หลังจากการนำโปรแกรมฯ มาใช้ การสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ มีความเหมาะสมมากขึ้นโดยเฉพาะในประเด็นขนาดยาและความถี่ในการให้ยาตลอดการรักษา
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2438
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59351202.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.