Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2456
Title: | Interactive Time-based media Art : The Metamorphosis of Self and Identity in Digital Era ศิลปะแบบฐานเวลาเชิงปฏิสัมพันธ์ : การกลายสภาพของตัวตนและอัตลักษณ์ในยุคดิจิทัล |
Authors: | Wuttin CHANSATABOOT วุฒินท์ ชาญสตบุตร Toeingam Guptabutra เตยงาม คุปตะบุตร Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | อัตลักษณ์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ศิลปะสื่อใหม่ ดิจิทัลอาร์ต identity social network new media art digital art |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This thesis aims to study the mechanism of arificial intelligence hidden behind Facebook, namely, the alogorithm, as well as to observe annd analyse virtual interactions in Facebook's context which could potentially affect on the transformation of self and identity of the users.
The theoretical methodology encompasses a research in psychoanalysis concepts of Jacques Lacan as well as dramaturgy and frame analysis proposed by Erving Goffman. Another approach is an analytic study of artworks created by acclaimed artists such as, Nam June Paik, Peter Campus, Tony Oursler and Antony Gormley.
The creation process is developed subsequent to the theoretical research in those concepts and artists mentioned above. The ultimate outcome of this study is conveyed as a form of installation art which combine particular characteristics of interactive and time-based media art, entitled "deFrame reFrame" (2020).
The installation portrayed the instability and variation of identity by juxtaposition and correlating visual appearance of two main components referring to the realm of physical world where we live and that of virtual territory of Facebook. Those two elements are connected by the third component functioning as an interface embeded in the system of most websites. Within this domain, three sets of proximity sensors attached to web cameras, including the use of computer programing, form a system that represents the artificial mind of Facebook's alogorithm. Visual elements consisting of video images and sculptural objects, were built upon essences extracted from some attributes of the algorithm as well as from activities occured within virtual interactions in Facebook context. The interaction between the audience and the work is a crucial factor affecting on the multiformity and physical characteristics of a group of pixels in the video image that illustrates artificial identity in virtual environment.
Whilst showing some influence from Paik, Campus, Oursler and Gormley, "deFrame reFrame" (2020) does reflects some unique voice and new visual grammar which differ from those artists, such as, creating a new approach of using human figure as a visual language, interpreting a form of cube as a three-dimensional frame of selective facts in physical world, as well as extracting some characteristics of Facebook's algorithm and turning them into lines of code in Processing which conduct visual diversity in video images' pixels. These are some evidences of the integration of knowledges derived from various sources during the time conducting this research. ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวตนและอัตลักษณ์บุคคลอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิสัมพันธ์ภายในบริบทการใช้งานเฟซบุ๊กซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบอัลกอริธึมอยู่เบื้องหลัง วิธีดำเนินงานประกอบด้วยการศึกษาการทำงานของอัลกอริธึมและเหตุการณ์ต่างๆภายในบริบทการใช้งานเฟซบุ๊ก รวมไปถึงรูปแบบงานศิลปะที่นำเสนอประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์บุคคล อันได้แก่ผลงานของ นัม จุง เป็ค ปีเตอร์ แคมปัส โทนี เอาร์สเลอร์ และแอนโทนี กอร์มลีย์ โดยใช้มโนทัศน์ทางจิตวิเคราะห์และสังคมศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวตนและอัตลักษณ์เป็นกรอบในการวิเคราะห์กรณีศึกษาเหล่านั้น มโนทัศน์ดังกล่าวได้แก่ แนวคิดเรื่องสิ่งอื่นของฌาคส์ ลาก็อง และการวิเคราะห์เชิงนาฏกรรมของเออร์วิง กอฟแมน เป็นต้น ทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้ถูกนำไปพัฒนาให้ปรากฏเป็นผลสัมฤทธิ์ในรูปแบบผลงานทัศนศิลป์เชิงจัดวางอันมีคุณลักษณะที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปะเชิงปฏิสัมพันธ์และศิลปะสื่อฐานเวลา ผลงานทัศนศิลป์ถ่ายทอดระบบการกลายสภาพของตัวตนและอัตลักษณ์ในสังคมเสมือนออกมาในรูปแบบการเปรียบเทียบให้เห็นความต่างระหว่างองค์ประกอบหลักสองส่วนที่เป็นสิ่งจำลองของโลกในความเป็นจริงและพรมแดนของเฟซบุ๊กซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย กล้อง เซ็นเซอร์วัดระยะทาง และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่ทำงานสอดประสานกันเป็นระบบอยู่ในองค์ประกอบหลักส่วนที่สามของผลงาน ทัศนธาตุอันประกอบด้วย ภาพวีดิทัศน์ และวัตถุเชิงประติมากรรมที่ปรากฏให้เห็นในงานสร้างสรรค์ คือสิ่งที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างคุณสมบัติบางประการที่สกัดมาจากแบบแผนการทำงานของระบบอัลกอริธึม และลักษณะสำคัญที่มีอยู่ในกลวิธีการสื่อสารความเป็นตัวตนของบุคคล แล้วนำเสนอออกมาในเชิงสัญลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ชิ้นส่วนร่างกายคนในลักษณะต่างๆเพื่อสื่อถึงกระบวนการคัดสรรข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่ป้อนลงในระบบเฟซบุ๊ก หรือการปิดกั้น (masking) รายละเอียดบางส่วนของภาพวีดิทัศน์ด้วยชุดคำสั่งในโปรแกรม Processing ซึ่งมีที่มาจากรูปแบบการทำงานของอัลกอริธึมที่ทำหน้าที่คัดกรองและประมวลผลชุดข้อมูลที่จะนำเสนอบนหน้านิวส์ฟีดของเฟซบุ๊ก เป็นต้น ระบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับชิ้นงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทัศนธาตุของภาพวีดิทัศน์ที่เป็นการจำลองอัตลักษณ์บุคคลและสภาวะแวดล้อมในสังคมเสมือน ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าว เป็นอุปลักษณ์ของการที่ข้อมูลซึ่งได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้งานและรูปแบบวิธีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และระบบเฟซบุ๊กในลักษณะต่างๆ มีส่วนช่วยพัฒนาและปรับเปลี่ยนแบบแผนวิธีการคิด การพิจารณา การตัดสินใจ และการประมวลผลของอัลกอริธึม ซึ่งในท้ายที่สุดก็ส่งผลสะท้อนในเชิงลบกลับมาสู่กลุ่มผู้ใช้ โดยทำให้ทัศนคติและวิธีการแสดงออกของบุคคลเหล่านั้นมีความแปรผันไปจากเดิม ผลการวิเคราะห์งานสร้างสรรค์ผ่านกรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้องโดยเชื่อมโยงกับคุณลักษณะของเฟซบุ๊กและผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นกรณีศึกษา ชี้ให้เห็นว่าผลงาน deFrame reFrame ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการศิลปนิพนธ์ครั้งนี้มีคุณลักษณะที่เชื่อมโยงกับงานศิลปะที่เป็นกรณีศึกษาในบางแง่มุม แต่ก็แสดงให้เห็นไวยากรณ์ใหม่ของงานทัศนศิลป์ที่มีความเฉพาะตัว เช่น การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบหลักสองส่วน แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความเชื่อมโยงระหว่างความแตกต่างนั้นด้วยข้อมูลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับผลงาน การสร้างความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการใช้รูปร่างคน และ การนำเอาคุณลักษณะบางประการของเฟซบุ๊กมาเป็นแนวทางในการเขียนชุดคำสั่งในโปรแกรม Processing เป็นต้น คุณสมบัติที่กล่าวถึง ล้วนแต่เป็นผลสืบเนื่องจากการบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้มาในระหว่างการดำเนินงานโครงการศิลปนิพนธ์ในครั้งนี้ที่ส่งผลให้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต่างไปจากเดิม |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2456 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57007802.pdf | 17.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.