Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2467
Title: | FROM DAGUERREOTYPE TO THE AGE OF DIGITAL AND BEYOND จากกระบวนการดาแกโรไทป์สู่ยุคที่เกินกว่าดิจิตอล |
Authors: | Thanarat SIRIPIDEJ ธนรัช สิริพิเดช Nopchai Ungkavatanapong นพไชย อังควัฒนะพงษ์ Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | กระบวนการทางภาพถ่าย ดาแกโรไทป์ รื้อฟื้น ภาพทิวทัศน์ daguerreotype Alternative Photography photography Image |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Light and shadow is a natural phenomenon which could not be felt or touched but seen. In 1839, French artist and photographer, invented the photography process called Daguerreotype. The invention has originated the evolution of modern photography. Photography technology has developed over time and expanded for general use with more practical at affordable cost. Current photography process is different from the old method in terms of photography technique and photograph development process. There are various photography tools that have been created and widely applied still photography was not common among society.
Since information technology (IT) and telecommunication evolution, people are able to view and create photographs easily. Although the original Daguerreotype technique is complicated and inconvenient but it reflects long legend and history of photography. It beautifully portrays the sophisticate of black and white photography which create value to both the art piece and the creators themselves. So, combining technology and the old technique of Daguerreotype is the form that interests me as a researcher. I would like to overcome the limitations of Daguerreotype style with digital photography. I hope my research and experiments will be significant for contemporary photographic study and practice. แสงและเงาล้วนเป็นปรากฏการณ์การทางธรรมชาติ ที่ไม่สามารถที่จะสัมผัสหรือจับต้องได้แต่สามารถมองเห็นได้ จนเมื่อปีค.ศ. 1839 กระบวนการถ่ายภาพดาแกโรไทป์ (Daguerrotype) ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ดาแกร์ (Louis Daguerre) กระบวนการดาแกโรไทป์จึงถือเป็นช่วงเริ่มต้นของวิวัฒนาการภาพถ่าย เทคโนโลยีภาพถ่ายได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาโดยมุ่งเน้นไปในทิศทางของการเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้ง่ายขึ้น โดยพัฒนาให้ใช้ง่ายและราคาที่ต่ำลง ทำให้เทคโนโลยีภาพถ่ายในปัจจุบันนั้นมีจึงความแตกต่างจากเทคโนโลยีภาพถ่ายในอดีตเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของทางเทคนิคการถ่ายและกระบวนการสร้างภาพ รวมไปถึงความสามารถในการเข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ ตัวคุณค่าของภาพถ่ายเองก็ยังมีความลักลั่นในตัวของมันเอง จนเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology: IT) หรือการประยุกดิ์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คมนาคม ที่เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก ทำให้เราสามารถเห็นภาพดิจิตอล หรือการถ่ายภาพจากอุปกรณ์ดิจิตอลได้อย่างดาดดื่น โดยที่ไม่ว่าใครก็สามารถถ่ายภาพหรือมีภาพถ่ายเป็นของตนเองได้ ต่างจากเทคนิคดาแกโรไทป์ซึ่งถือเป็นวิธีการถ่ายภาพโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีขั้นตอนซึ่งล้วนใช้เวลาอย่างมากในการสร้างผลงานภาพถ่ายแต่ละภาพ แม้เทคนิคดาแกโรไทป์ที่ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของวิวัฒนาการภาพถ่ายที่กำลังเลือนหายไปกับประวัติศาสตร์ แต่กลับช่วยเติมเต็มคุณค่าของตัวภาพถ่าย และผู้ถ่ายภาพ ทั้งในแง่ของกระบวนการสร้างภาพขาวดำที่ซับซ้อน มูลค่าของวัสดุที่ใช้ในกระบวนการถ่ายภาพ หรือแม้กระทั้งวิธีการมองภาพที่แตกต่างจากภาพถ่ายในปัจจุบัน การรื้อฟื้นกระบวนการภาพถ่ายแบบดาแกโรไทป์ให้สามารถกลับมามีตัวตนอีกครั้ง ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีภาพถ่ายดิจิตอลล้วนมีบทบาท และมีความจำเป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ทำให้ผู้วิจัยเกิดแรงบันดาลใจในการหาความเป็นไปได้ในการสร้างภาพถ่ายด้วยกระบวนการดาแกโรไทป์ ที่มีส่วนผสมของกระบวนการถ่ายภาพดิจิตอลรวมอยู่ด้วย เพื่อทำลายข้อจำกัดในการสร้างสรรค์ และเป็นการตั้งคำถามต่อคุณค่าของผลงานศิลปะภาพถ่ายในยุคสมัยปัจจุบัน |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2467 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58006202.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.