Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2487
Title: Mother’s World
โลกของแม่
Authors: Ruthairat KUMSRICHAN
ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์
Chaiyosh Isavorapant
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: ความเป็นแม่
สัญชาตญาณ
วัฒนธรรม
ความดิบ (หยาบ)
ความสุก (ความละเอียด)
motherhood
instinct
culture
raw (roughness)
cook (fineness)
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The creation of art thesis named “Mother’s World” aims to explore the meaning of love and philosophy of motherness by adopting four techniques which are 1) acrylic paintings and natural paint colors on canvases, 2) embroider, 3) papier mâché, and 4) raw pottery and ceramic. The techniques can be compared as child caring because the mother has to adopt several strategies to look for the appropriate method of being a mother. Furthermore, the mother’s instinct established by society and culture moves and directs the process of creation from rough step to fine step. Motherness has been formed by nature since the first day of fertilization. Due to the fertilization, the mother realizes the love and child protection moved by initial self-instinct. Then the mother is moved by beliefs and social cultures. The love, as the result, is supported and led by morality. Overall, the objectives are to protect and let the child grow up as a part of survivable and stable society. The initial love arising from mother’s instinct is raw (roughness), while the mother’s love established by society and culture is cook (fineness). This interpretation arises the concept of exploring the philosophy of love between mother and child — from the initial love to the love established by society and culture. The study establishes the concept of the creation by investigating the raw-to-cook development. As the result, all processes start from rawness to fineness. Then the fineness of creation provides the value of mother’s love. Moreover, the fineness can be compared with the artist’s child care because growing the child up has meaning relating to the techniques and processes of the creation. The value, philosophy, and feeling occurring during the time of work creation are adopted as the significant parts in analyzing the content and form of the art works. In conclusion, “Mother’s world” contains the states of happiness and unhappiness arising during the experience of being a mother. The love and care towards the child are projected by using techniques relating to the content that needs to be presented. As the result, the artist is able to review the life and learn the humanity through being a mother. Moreover, a realization is projected in all processes of the art work creation. That is to say, a woman realizes the understanding and forgiveness as a mother because of the child. Hence, the child is the genuine creator of the mother’s world.
การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุด “โลกของแม่” (Mother’s World)  เป็นการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อค้นหาความหมายของความรักและปรัชญาของความเป็นแม่  โดยอาศัยวัสดุและเทคนิค 4 วิธีการ คือ 1. จิตรกรรมสีอะคริลิกและสีจากธรรมชาติบนผ้าใบ 2. เย็บปักถักร้อย 3. เปเปอร์มาเช่ 4. เครื่องปั้นดินเผาดิบและเซรามิก ซึ่งเปรียบเสมือนการเลี้ยงลูกที่ต้องใช้กลวิธีที่หลากหลาย เพื่อค้นพบรูปแบบและวิธีที่เหมาะสมในการเป็นแม่คน โดยใช้แรงขับเคลื่อนที่มาจากสัญชาตญาณของแม่ กำหนดทิศทางและกระบวนการทำงาน จากขั้นตอนที่หยาบจนกระทั่งถึงขั้นตอนที่ละเอียดประณีต ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่ถูกหล่อหลอมจากสังคมวัฒนธรรม ความเป็นแม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  นับตั้งแต่วันแรกที่ลูกได้กำเนิดขึ้นในครรภ์ของผู้เป็นแม่  ซึ่งทำให้แม่เกิดการตระหนักรู้ถึงความรักและการปกป้องคุ้มครองลูก ด้วยสัญชาตญาณแรกเริ่มของตนเอง จนกระทั่งถูกหล่อหลอมด้วยความเชื่อและวัฒนธรรมทางสังคม  ก่อเกิดเป็นความรักที่มีศีลธรรมจรรยาหนุนนำเอาไว้ เพื่อให้ลูกมีชีวิตอยู่รอดอย่างปลอดภัยและเติบโตมาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความอยู่รอดและความมั่นคงของสังคม ความรักแรกเริ่มที่เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณของความเป็นแม่ คือ ความดิบ (หยาบ) ส่วนความรักของแม่ที่ถูกหล่อหลอมด้วยสังคมวัฒนธรรม คือ ความสุก (ความละเอียดประณีต) การตีความเช่นนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการแสวงหาปรัชญาจากความรักระหว่างแม่ลูกที่ค่อยๆ เกิดขึ้นจนกลายเป็นความรักที่ถูกหล่อหลอมด้วยสังคมวัฒนธรรม   การศึกษาวิธีคิดความดิบ (หยาบ) สู่ ความสุก (ละเอียดประณีต)   ผ่านตัวเทคนิควิธีการ เพราะทุกกระบวนการ เริ่มจากความดิบสู่ความละเอียดจนกระทั่งเกิดความประณีตในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ที่มีคุณค่าด้วยความรักของแม่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับการเลี้ยงดูลูกของตนเอง ซึ่งในระหว่างการเลี้ยงลูกจึงมีความหมายที่เชื่อมโยงกันกับตัวเทคนิคกระบวนการสร้างงานผลงานศิลปะ โดยการนำคุณค่า ปรัชญาและความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน มาเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ เนื้อหาและรูปแบบการสร้างผลงานศิลปะ ผลงาน “โลกของแม่” มีทั้งสภาวะของความทุกข์และความสุข ที่เกิดขึ้นในวิถีประสบการณ์ของการเป็นแม่คน โดยแสดงออกถึงความรักและความห่วงใยที่แม่มีต่อลูก ผ่านตัวเทคนิคกระบวนการที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ จึงส่งผลทำให้ได้ทบทวนชีวิตของตนเองและเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ผ่านการเป็นแม่ ลูกทำให้แม่ได้ซาบซึ้งถึงความอดทน ความเข้าใจและการให้อภัยซึ่งกันและกัน จนก่อเกิดเป็นความรักและคุณค่าของความเป็นแม่แก่ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่แสดงออกอยู่ในทุกกระบวนการของการทำงานผลงานศิลปะ ลูกจึงเป็นผู้สร้างโลกของแม่ขึ้นมาอย่างแท้จริง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2487
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60007804.pdf16.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.