Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2507
Title: BRIEF IN INTERIOR DESIGN AND CONSTRUCTION PROCESS
บรีฟในกระบวนการออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้าง
Authors: Nattiya PETCHDEE
ณัฐิยา เพ็ชรดี
Darunee Mongkolsawat
ดรุณี มงคลสวัสดิ์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: โจทย์ทางการออกแบบ
ออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้าง
กระบวนการออกแบบ
ประสิทธิภาพ
Design brief
Interior design and Construction
Design Process
Efficiency
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this research is to compare the brief process of interior design and construction projects in theory and in practice, and to identify problems and impacts on the process. An interior design and construction company was selected as a case study. The data were collected by semi-structured interview and by reviewing the clients’ brief documents. The 11 chosen-interviewees are the employees of the company who have been involved in parts or in the whole process of a design project. The results of the interviews showed that most of the interviewees were aware of the importance of the briefing information throughout the projects. Interestingly, the interior designer, the key person who transformed the briefing information into a design product and passed it on to other parties for construction, had little opportunities to receive the design briefs from clients directly. Usually, the marketing team was the one who received the briefs from clients. In this case, each one of the team could interpret the information, particularly in terms of design, incorrectly. Based on the reviewed theories, the briefing information should be reviewed regularly throughout the projects, but this has not been practiced in the case study. Such problem could cause lower efficiency in the design and construction process. Due to the misinterpretation of the briefs and the missing of regular brief reviews, clients’ needs may not be realized and achieved. The study of clients’ brief documents showed that there were two types of the documents. The first one is ‘the formal brief’, or a brief in the form of a document, which can vary from company to company in terms of details. The second one is ‘the informal brief’ which solely based on verbal communication and note-taking.  In conclusion, this study suggests that the efficiency of design and construction process can be improved by adding the regular brief reviewing and rechecking to the process from the very beginning to the end of the projects. Furthermore, a briefing form should be developed for regularly collecting important data in the same manner which can improve the efficiency and the quality of future commissioned projects.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบรีฟ (ฺBrief) ในโครงการออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้าง ระหว่างทฤษฎีกับกรณีศึกษา ระบุปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นพนักงานของบริษัทออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้างแห่งหนึ่ง เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการช่วงใดช่วงหนึ่ง หรือตลอดโครงการ จำนวน 11 คน และศึกษาเอกสารบรีฟของลูกค้าบริษัทกรณีศึกษา ผลการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับข้อมูลบรีฟไม่ว่าจะอยู่ในช่วงใดของกระบวนการ แต่ที่น่าสนใจ คือ ผู้ออกแบบ (Interior designer) ซึ่งมีหน้าที่ในการตีความข้อมูลบรีฟให้ออกมาเป็นแบบเพื่อส่งต่อให้สมาชิกในทีมได้ทำงานต่อ กลับมีโอกาสได้รับบรีฟจากลูกค้าโดยตรงน้อยครั้งมาก ต่างจากฝ่ายการตลาด (Marketing) ที่จะเข้ารับข้อมูลบรีฟจากลูกค้าทุกครั้ง ซึ่งการตีความข้อมูลบรีฟ ของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเข้าใจในสิ่งที่ได้รับฟัง ทำให้ข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดออกไปหลายต่อมีความคลาดเคลื่อนได้ และจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการบรีฟระหว่างทฤษฎีกับกรณีศึกษา พบว่า ทฤษฎีมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลบรีฟอยู่ตลอดโครงการ แต่กรณีศึกษาไม่มี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระบวนการออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้างนั้นมีประสิทธิภาพลดลงได้ เนื่องจากข้อมูล บรีฟที่ส่งออกไปในแต่ละขั้นตอนไม่ได้รับการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ จากการศึกษาเอกสารบรีฟของลูกค้าบริษัทกรณีศึกษา พบว่า การให้ข้อมูลบรีฟของลูกค้า แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีรูปแบบเอกสาร (Format หรือ Form) บรีฟชัดเจน ซึ่งมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท บางฉบับมีข้อมูลครบถ้วน บางฉบับไม่ครบถ้วน และอีกประเภท คือ ไม่มีรูปแบบเอกสาร เป็นการให้ข้อมูลปากเปล่า โดยผู้รับบรีฟต้องทำการบันทึกข้อมูลเองตามความเข้าใจของผู้รับข้อมูล การศึกษานี้จึงเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการออกแบบตกแต่งภายในและก่อสร้าง ให้มีกระบวนการตรวจสอบบรีฟแทรกอยู่ในกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนจบโครงการ และนำเสนอรูปแบบเอกสารการเข้ารับข้อมูลบรีฟให้ผู้เข้ารับข้อมูลได้มีแนวทางในการเก็บข้อมูลในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของโครงการต่อไป
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2507
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58055307.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.