Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2518
Title: Land Use Planning and Tourism Management : A Case Study of Koh Yor, Songkhla Province.
การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและจัดการการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
Authors: Supitchaya SAPPAPAN
สุพิชญา สรรพพันธ์
SINEENART SUKOLRATANAMETEE
สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี
Silpakorn University. Architecture
Keywords: เกาะยอ จังหวัดสงขลา
การอนุรักษ์และการพัฒนา
แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
Koh Yor Songkhla Province
conservation and development
land use guidelines
ecotourism
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Koh Yor, an old town and a popular tourist attraction of Songkhla Province, has been facing a physical problem due to its tourism growth without a development plan to conserve its environmental and cultural values. The research aims to find a common ground between development and conservation. Its objectives are to study Koh Yor’s values and potentials and to suggest land use development guidelines for a sustainable tourism that comply with its valuable contexts.                                The research studies multifaceted values of Koh Yor through secondary datas and surveys. Its current physical problems and future development trends are also studied, prior to conducting value assessments and analysing its physical potentials. Finally, land use development guidelines are conducted to guide Koh Yor’s tourism development.                                                                     The results show Koh Yor’s three distinct values including (1) historical and fine arts value; (2) cultural value; and (3) natural and environmental value. In order to balance its potential for conservation and tourism development, a land use development guidelines are conducted. The guidelines consist of 8 land use classifications as follow: (1) historical and cultural promotion area; (2) natural and environmental conservation area; (3) swamp forest restoration area; (4) agricultural conservation area; (5) green area for eco-recreation; (6) Lake of Songkhla ecosystem preservation area; (7) development promotion area; and (8) future urban expansion area. The research also recommends a building of ecotourism destination networks consisting of seven tourist attraction zones and two tourist routes
เกาะยอเป็นชุมชนเก่าแก่และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา ปัจจุบันประสบปัญหาในด้านกายภาพอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่ขาดการวางแผนให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์คุณค่าทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของพื้นที่ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความสำคัญขององค์ประกอบที่มีคุณค่า รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันโดยไม่ทำลายคุณค่าเดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณค่าและศักยภาพของพื้นที่ (2) เสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทของตำบลเกาะยอ และเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน                                                                                                                  การวิจัยจะทำการศึกษาคุณค่าในด้านต่างๆ ของเกาะยอจากข้อมูลทุติยภูมิและจาการสำรวจพื้นที่ ศึกษาและสำรวจปัญหาด้านกายภาพและการขยายตัว จากนั้นทำการประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะยอ                                                                                                            ผลการศึกษาพบว่าเกาะยอมีคุณค่าโดดเด่น 3 ด้าน คือ (1) ด้านประวัติศาสตร์และศิลปกรรม (2) ด้านวัฒนธรรม (3) ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การพัฒนาสอดคล้องกับคุณค่าในด้านการอนุรักษ์และศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว จึงจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกำหนดพื้นที่เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม 8  ประเภท คือ (1) พื้นที่ส่งเสริมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น (2) พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) พื้นที่ฟื้นฟูป่าพรุ (4) พื้นที่อนุรักษ์แหล่งเกษตรกรรม (5) พื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (6) พื้นที่รักษาระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา (7) พื้นที่ส่งเสริมการพัฒนา (8) พื้นที่รองรับการขยายตัวในอนาคต ส่วนด้านการท่องเที่ยวเสนอให้สร้างความเชื่อมโยงแหล่งของท่องเที่ยวและพัฒนาเกาะยอเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยได้กำหนดโซนการท่องเที่ยวออกเป็น 7 โซน และจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว 2 เส้นทาง
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2518
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58060207.pdf22.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.