Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2534
Title: Reconfiguration Area in Orphanage House  
การจัดการระบบพื้นที่รูปแบบใหม่ในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
Authors: Chompunuch KAYPRASIT
ชมพูนุช กายประสิทธิ์
Adisorn Srisaowanunt
อดิศร ศรีเสาวนันท์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: เด็กกำพร้า
สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
สภาพแวดล้อม
ที่อยู่อาศัย
Orphan
Orphanage
Environment
Housing
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Many orphans have grown up in orphanage since birth. The main policy of the orphanage is to promote and protect children's rights providing education based on basic rights and quality care for children including building good living skills under the environment. Design plan should be planned so that the learning process is consistent with the child's development. Orphans tend to have delayed development, and the living environment also determines the behavior of children. In most cases, there is still lack of planning for interior and exterior spaces and does not really consider the primary users. The level of publicity and privacy of the area is not clearly divided, resulting in mixed circulation for all types of users. Therefore, researching and finding conclusions in order to experiment with designing a new type of housing which can meet basic needs and promote development to prepare the body and mind to be ready to grow completely. Space management is different as appropriate, which will benefit more children to grow under an orphanage.
เด็กกำพร้ามากมายเติบโตที่สถานรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิด สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยก็มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของเด็ก โดยที่สถานสงเคราะห์ส่วนมากยังขาดการวางแผนพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร และไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานหลักอย่างแท้จริง ระดับความเป็นสาธารณะ - ความเป็นส่วนตัวของพื้นที่ ไม่มีการแบ่งอย่างชัดเจนส่งผลให้เส้นทางการสัญจรมีผู้ใช้งานทุกประเภทปะปนกัน พื้นที่อยู่อาศัยรวมถึงพื้นที่เรียนจึงควรมีคุณภาพและตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้อาศัย จึงเกิดการค้นคว้าและหาข้อสรุปเพื่อทดลองออกแบบระบบที่อยู่อาศัยสำหรับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ปรับปรุงพื้นที่และคาดหวังให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยการศึกษาอาคารตัวอย่างของสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า นำมาวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของเด็กกำพร้า ซึ่งควรมีสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ เตรียมความร่างกายและจิตใจของเด็กให้พร้อมจะเติบโตอย่างแข็งแรง ประกอบไปด้วย การศึกษา การดูแลสุขอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการออกแบบอาคารให้มีรูปแบบพื้นที่เหมาะสมส่งเสริมทักษะหลายด้านสอดคล้องกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็ก มีพื้นที่ปิดล้อมมิดชิดและเปิดรับธรรมชาติและแยกเส้นทางการสัญจรของผู้ใช้แต่ละประเภท พื้นที่สำหรับการฝึกให้เด็กช่วยเหลือพึ่งพาตนเอง สามารถทำสิ่งต่าง ๆได้เองเมื่อไม่มีผู้ดูแลทำให้ การจัดการพื้นที่ทุกๆส่วนที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมจะเกิดประโยชน์และส่งผลดีต่อเด็กมากขึ้นในการเติบโตภายใต้สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า จากนั้นรวบรวมข้อสรุปจากผลการศึกษาเสนอเป็นข้อแนะนำ และนำข้อแนะนำมาจำลองเป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับเด็กกำพร้า
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2534
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61054203.pdf16.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.