Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2537
Title: Gender of Khok Phanom Di: An alternative interpretation
เพศภาวะของชุมชนโคกพนมดี: การตีความทางเลือก
Authors: Anusorn AMPHANSRI
อนุสรณ์ อำพันธ์ศรี
RASMI SHOOCONGDEJ
รัศมี ชูทรงเดช
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: โบราณคดีเพศภาวะ
การตีความทางเลือก
ชุมชนโคกพนมดี
Gender archaeology
alternative interpretation
Khok Phanom Di community
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study referred to as “alternative interpretation” is conducted with an objective to project the prehistoric images of Khok Phanom Di communities through the concept of “Gender archaeology”. The researcher used this concept to interpret the same set of archaeological data as Higham’s and Thosarat’s, the key archaeologists who used to study Khok Phanom Di communities in prehistoric times before. This study’s hypothesis is that using a different approach to the interpretation of the same archaeological data as in the previous studies should result in different research findings. The researcher believes that there is no such thing as ultimate facts or universal knowledge. And the study of prehistoric stories is all about interpretation or speculation. Therefore, this result of this study is only generating “another set of images that represent the past truths”. In other words, it is just another “alternative approach” to project images of the past. It is not meant to create a new set of “truths” to replace the existing ones. The alternative interpretation in this study shows that gender of prehistoric people in the Khok Phanom Di community are not completely divided but overlap each other in aspects of social class, status, family relationship, etc. Neither male nor female is assigned with a fixed social status. There is no absolute power of one gender over the other. Their different positions at the individual level, however, brings the difference in their social status. 
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาที่เรียกว่า “การตีความทางเลือก” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพอดีตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนโคกพนมดีขึ้นใหม่ โดยใช้แนวคิด “โบราณคดีเพศภาวะ” มาใช้ในการตีความหลักฐานทางโบราณคดีชุดเดียวกับชาร์ลส ไฮแอม และรัชนี ทศรัตน์ นักโบราณคดีคนสำคัญที่ทำการศึกษาและสร้างภาพอดีตของชุมชนโคกพนมดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแล้ว โดยมีสมมติฐานเบื้องต้นว่า หากใช้แนวคิด ทฤษฎีในการศึกษาตีความที่แตกต่างกันกับการศึกษาที่ผ่านมา จะสามารถตีความและสร้างภาพอดีตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไปได้ เนื่องจากผู้ศึกษาเชื่อว่าไม่มีความจริง หรือความรู้ชุดใดที่เป็นสากล และการศึกษาเรื่องราวในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นเพียงการตีความหรือคาดเดาเท่านั้น ดังนั้นผลการจากศึกษาครั้งนี้จึงเป็นเพียง “ภาพแทนความจริงในอดีตอีกชุดหนึ่ง” ซึ่งเป็นเพียงอีกหนึ่ง “ทางเลือก” ของการสร้างภาพอดีตเท่านั้น และการศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่การสร้าง “ความจริง” ชุดใหม่ หรือความจริงเพียงหนึ่งเดียวขึ้นมาเพื่อลบล้างความจริง หรือความรู้ที่มีอยู่เดิม ผลจากการศึกษา สามารถตีความในมุมมองทางเลือกว่า ความเป็นหญิง ความเป็นชายของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ชุมชนโคกพนมดีไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จ แต่มีความคลุมเครือ และซ้อนทันกันของทั้งชนชั้น สถานะ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้หญิงผู้ชายไม่มีเพศใดที่มีสถานะทางสังคม มีอำนาจเหนืออีกเพศอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ตำแหน่งแห่งที่ที่แตกต่างกันทำให้ผู้หญิงผู้ชายในระดับปัจเจกมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำของสถานภาพทางสังคมของปัจเจกนั้นๆ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2537
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57101801.pdf18.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.