Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2541
Title: MURAL PAINTINGS OF VESSANTARA JATAKA IN NORTHEASTERN THAILAND
จิตรกรรมฝาผนังเวสสันดรชาดกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Narin YUENTHON
นรินทร์ ยืนทน
RUNGROJ THAMRUNGRAENG
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จิตรกรรมเวสสันดรชาดก
ฮูปแต้มอีสาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Vessantara Jataka Paintings
E-Sarn Mural Paintings
North Eastern Part of Thailand
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The Study of Vessantara Jataka mural paintings in Northeastern Thailand. All samples were selected from the central provinces of Northeastern Thailand, which consists of Khon Kaen, Maha Sarakham, Kalasin and Roi Et.  There are 2 groups of Vessantara Jataka mural paintings. One group of paintings were painted by local artists with theirs ideas and the other group of paintings were influenced by S. Dhammapakdee's prints. The purpose of this study was to find out the art history details about these two groups of paintings.  The mural paintings influenced were painted by local artists on limited space. The mural paintings followed the same timeline as the story of Mahajati Preaching from the Boon Pawet tradition. Also, the mural paintings have patterns that match the Pha Phra Ves or Prabot paintings (The Buddha story painted on fabric). The Prabot painting might have been the source material for the mural paintings when the local artists decided to paint on walls as they were more durability than fabric. The mural paintings influenced by S. Dhammapakdee's prints likely followed Phrathevapinimmitr's style because this style was spreading all over Thailand including Northeastern Thailand. The mural paintings followed the same patterns as the prints, illustrating only single important scenes. However, walls are large and having only a single scene left a lot of space for local artists to fill in. Artists filled in the empty spaces with their own style and with visual elements from Master Hem Vejakorn's style and it became a unique style in the end.
การศึกษาจิตรกรรมเวสสันดรชาดกครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรูปแบบของจิตรกรรมที่ทำการศึกษานั้นมี ๒ กลุ่มคือ กลุ่มจิตรกรรมเวสสันดรชาดกฝีมือช่างท้องถิ่น และกลุ่มอิทธิพลภาพพิมพ์ ส.ธรรมภักดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลรายละเอียดทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และการแสดงออกทางศิลปกรรม ผลการศึกษาพบว่า จิตรกรรมเวสสันดรชาดกฝีมือช่างท้องถิ่น มีการใช้เทคนิคการเขียนภาพบนพื้นที่ที่จำกัด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความคิดทางเชิงช่างที่มีการเขียนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับประเพณีบุญผะเหวดอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเทศน์มหาชาติที่ลำดับเหตุการณ์เรื่องราวในชาดกเช่นเดียวกันกับการเรียงลำดับฉากบนจิตรกรรม  ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมกับผ้าผะเหวด หรือผ้าพระบฏที่เขียนเรื่องราวเวสสันดรชาดกนั้น เชื่อว่าการเขียนผ้าผะเหวดอาจเป็นแนวคิดหนึ่งหรือเป็นต้นแบบที่ส่งมาให้ช่างแต้มนำมาเขียนเรื่องราวเดียวกันบนฝาผนัง ขณะที่จิตรกรรมเวสสันดรชาดกอิทธิพลภาพพิมพ์ ส.ธรรมภักดี ส่วนใหญ่เขียนตามอย่างผลงานพระเทวาภินิมมิต ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากจนน่าจะกลายเป็นต้นแบบให้กับงานเขียนของช่างแต้มทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือสมัยหลัง ทั้งนี้รูปแบบและการแสดงออกทางศิลปกรรมยังคงเน้นการเขียนฉากหลักสำคัญที่ปรากฏบนภาพพิมพ์ไว้ แต่มีการสอดแทรกภาพทิวทัศน์เพิ่มมากขึ้น หรือวาดขนาดใหญ่ขึ้น ตลอดจนสอดแทรกฉากเหตุการณ์อื่นในกัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของห้องภาพภายในอาคารที่มีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งยังมีการเขียนโดยนำรูปแบบผลงานของครูเหม เวชกร เข้ามาผสมผสานด้วย ตลอดจนการเขียนที่ช่างแต้มใช้รูปแบบจิตรกรรมงานท้องถิ่น และแนวคิดของช่างเองมาเขียนร่วมกับงานภาพพิมพ์อีกด้วย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2541
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57107904.pdf21.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.