Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2543
Title: A COMPARATIVE STUDY OF THE CONCEPT OF PLANETS, DAŚĀS AND PHYSIOGNOMY IN BṚHATPĀRĀŚARA-HORĀŚĀSTRA AND THAI BRAHMAJĀTI POPULAR EDITION
การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ ทศา และนรลักษณ์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ของไทย
Authors: Nattapaul BANRAI
ณัฐพล บ้านไร่
Chainarong Klinoi
ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: โหราศาสตร์
พระเคราะห์
ทศา
นรลักษณ์
Astrology
Planet
Dasha
Physiognomy
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this thesis is to provide the transliteration and the translation of the chapter relating to the concepts of the planets, Daśās and the physiognomy of Bṛhatpārāśara-horāśāstra from Sanskrit into Thai, and to explore and compare these concepts as stated in Bṛhatpārāśara-horāśāstra with Thai Brahmajāti popular edition. The result of this study reveals that it is possible that Brahmajāti could be influenced by Indian thoughts due to the fact that the astrological concepts resemble Bṛhatpārāśara-horāśāstra, especially the concepts of the planets and Daśās. As for the concepts of the planets, their names in Brahmajāti have derived from Pali and Sanskrit which share the same etymology with the planets’ names in Bṛhatpārāśara-horāśāstra in terms of the meaning of the origin, the character and the position. Nevertheless, it is worth noted that according to Brahmajāti, the planets are created by lord Īśvara. The characters and the relationships of the planets in Bṛhatpārāśara-horāśāstra and Brahmajāti illustrates some differences. Still, the essential dignities of the planets such as rulership, exaltation and debilitation are similar. Concerning the conpets of Daśā, Brahmajāti calls out Daśā as “Thaksa” and Mahathaksa is also similar to the Aṣṭottarīdaśā in Bṛhatpārāśara-horāśāstra including the total age of 108 years, the age of the planets and the calculation of the span of the planet’s Daśā and the planet’s Antardaśā. Only the calculation of the first planet’s Daśā is different. In fact, Bṛhatpārāśara-horāśāstra is more concerned by the period of the moon in natal nakṣatra whereas Brahmajāti is concerned by the native’s lord of birthday. Bṛhatpārāśara-horāśāstra and Brahmajāti both calculate the span of the planets in Daśā system by cross-multiplication. However, the prediction in Bṛhatpārāśara-horāśāstra considers the planets’ essential dignities. It is interesting to indicate that most of the predictive texts are different. For the concept of the physiognomy, the predictions based on the effects of the characteristic features of various body parts as well as the effects of marks in Bṛhatpārāśara-horāśāstra apply specifically to women even though the last śloka of chapter 81 and some predictive texts in chapter 82 indicate that this can also be applied to men. However, the physiognomy in Brahmajāti predictions are applied to both women and men. The auspicious-inauspicious effects of the physiognomy of both scriptures are similar whereas the predictive texts are mostly different.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระเคราะห์ ทศา และนรลักษณ์ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบแนวคิดดังกล่าวในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ ผลการศึกษาพบว่า ตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เนื่องจากมีแนวคิดด้านโหราศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ และทศา  ในประเด็นแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ ชื่อพระเคราะห์ที่ปรากฏในตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์มีทั้งมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยส่วนใหญ่มีรากศัพท์เดียวกับคำเรียกขานพระเคราะห์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ซึ่งแต่ละชื่อมักมีความหมายที่บ่งบอกเหล่ากอ ลักษณะ และสถานภาพของพระเคราะห์แต่ละดวง หากแต่ตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์กลับระบุว่าพระเคราะห์เกิดจากการทรงสร้างของพระอิศวร แม้ว่าพระเคราะห์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์จะมีคุณสมบัติประจำพระเคราะห์ และความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ในส่วนมาตรฐานพระเคราะห์นั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก ทั้งตำแหน่งเกษตร อุจจ์ และนิจ สำหรับแนวคิดเรื่องทศา ตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์นิยมเรียกว่า “ทักษา” ซึ่งมหาทักษาในตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์มีความคล้ายคลึงกับอัษโฏตตรีทศาในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์อยู่มาก ทั้งในเรื่องอายุบริบูรณ์ของทศา 108 ปี อายุพระเคราะห์ และการคำนวณหาช่วงเวลาการเสวยแทรกของพระเคราะห์ แตกต่างกันเพียงการหาพระเคราะห์ที่เริ่มต้นเสวยอายุ โดยคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ต้องอาศัยนักษัตรฤกษ์ที่ชนมจันทร์สถิตอยู่ แต่ตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ใช้พระเคราะห์ประจำวันเกิดเป็นพระเคราะห์ที่เริ่มเสวยอายุทักษา ในเรื่องของการคำนวณหาช่วงเวลาการเสวยแทรกอายุทศานั้นใช้วิธีการเทียบบัญญัติไตรยางศ์คล้ายคลึงกัน แต่ในส่วนของการพยากรณ์คัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของพระเคราะห์ประกอบด้วย สำหรับเนื้อหาของคำพยากรณ์ก็พบว่าส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน ส่วนแนวคิดเรื่องนรลักษณ์ ทั้งการทำนายโดยอาศัยลักษณะร่างกายหรือการดูตำหนิ ไฝ ปาน พบว่าคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์มักใช้ทำนายสตรีโดยเฉพาะ แม้ว่าในช่วงท้าย อัธยายะที่ 81 และในส่วนของคำทำนายตำหนิในอัธยายะที่ 82 บางตำแหน่งปรากฏคำทำนายสำหรับบุรุษอยู่บ้างก็ตาม หากแต่ตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์นั้นสามารถใช้ทำนายได้ทั้งชายและหญิง ในส่วนของคำทำนายพบว่ามีคำทำนายที่ดี-ไม่ดีคล้ายคลึงกันค่อนข้างมาก แต่ทว่าเนื้อหาของคำทำนายกลับมีความแตกต่างกันแทบทั้งสิ้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2543
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57116801.pdf11.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.