Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2547
Title: | IDEOLOGICAL LEADERSHIP IN SANSKRIT POETS: STUDY FROM LITERATURE ON KIRĀTĀRJUNĪYA ภาวะผู้นำตามอุดมการณ์ของกวีสันสกฤต: ศึกษาจากวรรณคดีเรื่องกิราตารชุนียะ |
Authors: | Surasak YAM-UM สุรศักดิ์ แย้มอุ่ม SOMBAT MANGMEESUKSIRI สมบัติ มั่งมีสุขศิริ Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | ภาวะผู้นำตามอุดมการณ์ กิราตารชุนียะ IDEOLOGICAL LEADERSHIP KIRĀTĀRJUNĪYA |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The aim of this dissertation is to study the aesthetic ideology and philosophical ideology of thought of poets towards leadership through literary works and to study what leadership ideologies of Sanskrit poetry corresponds to contemporary leadership by studying Kirātārjunīya of Bhāravi, which consist of 18 sargas (cantos). Initially, the researcher had to transliterate and translate this Sanskrit literature into Thai. After that, aesthetics was studied, which was the study of the poet’s feeling towards the leadership image by using Rasa-Dhvani theory in analysis. Then the philosophy of living according to religious concept was studied, which about the poet’s thoughts on the image of leadership, based on Puruṣārtha.
The study reveals that the 10 leadership characteristics of Bhāravi’s feelings were inherited through the Vīra-Rasa (heroic spirit), the main Rasa (or basic emotion) of the story, with the support of Adbhuta-Rasa (wonder), Raudara-Rasa (fury), Śānta-Rasa (serenity) and Śṛiṅgāra-Rasa (erotic love). The main character that made us get the heroic emotion in achieving his own mission was Arjuna. And the study of the philosophical living according to religious concept leads to know an additional 25 leadership characteristics. In addition, the analysis of the text using Puruṣārtha, especially Dharma, which is the practice of self-duties which are the basic principles that lead to leadership throughout this story, with other principles such as Artha and Kāma as a support, showed that the characters reflect their duties directly to others, and only one side appears, except for the main character of the story that show a sense of Dharma in different way, according to their relationships with various characters. For example, Dvaipāyana would perform the duty of the teacher only to Pāṇḍavas, in the same way that Indra would only perform the duty of father only to Arjun. While Arjun only carries on various relationships with other people such as performed the duty of husband to Draupadī, performed the duty of pupil to Dvaipāyana and performed the duty of adherent to Indra etc. Furthermore the study showed that leadership based on the ideology of the Sanskrit poet and contemporary leadership had a common point. วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาอุดมการณ์ของกวีทั้งในเชิงสุนทรียรสและในเชิงปรัชญาการดำเนินชีวิตตามแนวคิดทางศาสนาที่มีต่อภาวะผู้นำผ่านผลงานวรรณคดี ตลอดจนศึกษาว่าภาวะผู้นำตามอุดมการณ์ของกวีสันสกฤตประการใดบ้างที่สอดคล้องกับภาวะผู้นำอันพึงประสงค์ในยุคปัจจุบัน โดยศึกษาจากมหากาวยะเรื่องกิราตารชุนียะของกวีภารวิซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 18 สรรค เบื้องต้นผู้วิจัยจำต้องทำการปริวรรตและแปลวรรณคดีสันสกฤตเรื่องนี้ให้เป็นภาษาไทยก่อน หลังจากนั้นจึงทำการศึกษาในเชิงสุนทรียรสอันเป็นการศึกษาความรู้สึกของกวีที่มีต่อภาพภาวะผู้นำโดยใช้ทฤษฎีรส-ธวนิในการวิเคราะห์ตัวบท และศึกษาในเชิงปรัชญาการดำเนินชีวิตตามแนวคิดทางศาสนาซึ่งว่าด้วยเรื่องความนึกคิดของกวีที่มีต่อภาพภาวะผู้นำตลอดทั้งเรื่องโดยอาศัยหลักปุรุษารถะตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของผู้นำในความรู้สึกของกวีภารวิจำนวน 10 ประการได้รับการถ่ายทอดผ่านรสเอกของเรื่องคือวีรรส ทั้งนี้โดยมีรสอัศจรรย์ใจ รสโกรธ รสสงบ และรสรักเป็นรสเสริมที่คอยส่งเสริมให้รสเอกปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น ตัวละครสำคัญที่แสดงออกถึงความอุตสาหะเพื่อกระทำกิจของตนให้สำเร็จลุล่วงคืออรชุน ส่วนการศึกษาภาวะผู้นำในเชิงปรัชญาการดำเนินชีวิตตามแนวคิดทางศาสนาทำให้เราทราบความนึกคิดของกวีที่มีต่อคุณลักษณะของผู้นำเพิ่มขึ้นอีก 25 ประการ และการใช้หลักปุรุษารถะในการวิเคราะห์ตัวบทประพันธ์โดยเฉพาะข้อที่ว่าด้วยธรรมะคือการปฏิบัติตนตามหน้าที่อันเป็นหลักการสำคัญพื้นฐานที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำซึ่งปรากฏครอบคลุมตลอดทั้งเรื่องโดยมีปุรุษารถะข้ออื่นๆ ได้แก่ อรรถะ และกามะเป็นเครื่องส่งเสริมธรรมะ ทำให้พบด้วยว่าเมื่อเราศึกษาธรรมะของตัวละครแต่ละตัวในบทประพันธ์จะพบว่าตัวละครเหล่านั้นสะท้อนหน้าที่ของตนเองที่มีต่อบุคคลอื่นอย่างตรงไปตรงมาและปรากฏหน้าที่เพียงด้านเดียว มีเพียงตัวละครเอกของเรื่องเท่านั้นที่แสดงจิตสำนึกเรื่องธรรมะหลากหลายประการตามความสัมพันธ์ที่ผูกไว้กับตัวละครต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น มหาฤษีไทฺวปายนะจะแสดงอาจารยธรรมหรือหน้าที่แห่งความเป็นอาจารย์ที่มีต่อเหล่าปาณฑพเพียงหน้าที่เดียว หรือแม้กระทั่งพระอินทร์ก็แสดงปิตฤธรรมคือหน้าที่ที่บิดามีต่อบุตรคืออรชุนเพียงหน้าที่เดียวเช่นกัน มีเพียงอรชุนเท่านั้นที่แบกรับความสัมพันธ์อันหลากหลายที่ตนมีต่อบุคคลอื่นๆ อาทิ การแสดงปติธรรมต่อเทราปทีในฐานะสามี การแสดงศิษยธรรมต่อมหาฤษีไทฺวปายนะในฐานะศิษย์ และการแสดงเสวกธรรมต่อพระอินทร์ในฐานะผู้น้อย เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบด้วยว่าภาวะผู้นำตามอุดมการณ์ของกวีสันสกฤตกับภาวะผู้นำร่วมสมัยต่างมีจุดร่วมที่สอดคล้องกัน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2547 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57116806.pdf | 8.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.