Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2548
Title: Concept of Ritual Deposit of Khmer Temples in Northeastern Thailand from 10th _ 13th century A.D.
คติการวางฤกษ์ที่พบในปราสาทเขมรแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 
Authors: Naiyana MUNPARN
นัยนา มั่นปาน
Saritpong Khunsong
สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: การวางฤกษ์
ปราสาทเขมร
พุทธศตวรรษที่ 15-18
Ritual Deposit
Khmer Temples
10th-13th Century A.D.
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Headstones are one of the types of archaeological finds that have been found in the Khmer temples located in the northeastern of Thailand. Among other archaeological finds are stone slabs and deposit stones that contained auspicious objects that are involved in temple consecration rituals. The beliefs and the characteristics of the temple consecration rituals are still the interesting issues for the scholars to study. However, there is no thorough research about the archaeological finds that involves the temple consecration rituals. Therefore, this research is aiming to study the characteristics and the beliefs of the stone pillars, stone pillars and the valuable objects that were used in the temple consecration rituals of Khmer temples in the north eastern part of Thailand in the 10th - 13th century A.D., and to explain the connections of beliefs through architectural traditions. From the analysis, it is found that there are two types of temple consecrations. One without headstones, found in Hindu temples dating 11th - 12th A.D. (Baphuon and Angkor Wat period) and one with headstones. Temple consecrations by using headstones can be divided to 2 main types. First, the headstones have been drilled vertically and horizontally. They were found in Khmer temple dating 11th - 12th A.D. (Baphuon and Angkor Wat period). Another type,  assumed that had been a lid. They were found only in Khmer temple dating 13th A.D. (Bayon period). As for the deposit stones used for depositing the auspicious objects of images that not specific to any religion and continuously used since 10th - 13th A.D. (Baphuon - Angkor Wat - Bayon period) These two types of temple consecrations were influenced by Hindu scriptures that was popular in the south of India such as Mānasāra, Mayamatam and Kāśyapaśilpa śāstra. The concept of Hindu scriptures is believed to be the pattern of Mahayana Buddhist scripture such as Mañjūśrī vāstu śāstra. It is also found in religious places in India, Srilanka, Indonesia, Malaysia and Vietnam.
ในปราสาทเขมรแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบโบราณวัตถุประเภทหนึ่งที่นักวิชาการสันนิษฐานว่าเป็นแผ่นศิลาฤกษ์ แท่นหินบรรจุวัตถุมงคล และวัตถุมีค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการวางฤกษ์ในศาสนสถาน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางฤกษ์นี้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและคติความเชื่อของแผ่นหิน แท่นหินและวัตถุมีค่าที่ใช้ในการวางฤกษ์ของปราสาทเขมรในดินแดนไทยแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 (สมัยเมืองพระนคร) และเพื่ออธิบายถึงความเชื่อมโยงทางความเชื่อของผู้คนผ่านประเพณีในการสร้างสถาปัตยกรรม จากการวิเคราะห์หลักฐานที่พบปรากฏการวางฤกษ์แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การวางฤกษ์แบบไม่ใช้แผ่นศิลาฤกษ์ ซึ่งพบในศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (สมัยบาปวน - นครวัด) และ การวางฤกษ์ที่ใช้แผ่นศิลาฤกษ์  ซึ่งสามารถแบ่งออกด้วยกันเป็น 2 รูปแบบใหญ่ แผ่นศิลาฤกษ์รูปแบบแรกมีลักษณะโดยรวมคือเป็นแผ่นหินทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเซาะร่องในแนวแกนตั้งและแกนนอน พบในปราสาทเขมรที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (สมัยบาปวน - นครวัด) ส่วนแผ่นศิลาฤกษ์อีกรูปแบบสันนิษฐานว่าอาจเคยมีฝาปิด โดยพบเฉพาะปราสาทเขมรที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 (สมัยบายน) ในส่วนของแท่นหินบรรจุวัตถุมงคลนั้นใช้ในการบรรจุวัตถุมงคลให้แก่รูปเคารพซึ่งไม่จำเพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และใช้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 (สมัยบาปวน - นครวัด - บายน) ทั้งนี้พบว่ามีรูปแบบความเชื่อดังกล่าวมีแนวคิดมาจากคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับความนิยมในอินเดียตอนใต้ เช่น คัมภีร์มานสาระ คัมภีร์มยมตะ และคัมภีร์กาศยปศิลปศาสตร์ โดยแนวคิดในคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์นี้เชื่อว่ายังเป็นต้นแบบให้กับคัมภีร์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้แก่ คัมภีร์มัญชูศรีวาสตุศิลปศาสตร์ และยังสัมพันธ์กับรูปแบบที่พบศาสนสถานในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2548
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58101202.pdf11.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.