Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2558
Title: local wisdom management through packaging designed of salted eggs at lamet, chaiya, suratthani province
แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไข่เค็มไชยา : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็ม อสม. ไชยา ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Authors: Kotchakorn KHAMFAENG
กชกร คำแฝง
RASMI SHOOCONGDEJ
รัศมี ชูทรงเดช
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ไข่เค็มไชยา/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ การออกแบบบรรจุภัณฑ์
CHAIYA SALTED EGG / LOCAL WISDOM / PACKAGING DESIGN
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract:                 The purpose of this research is to study the history and the wisdom of salted egg packaging design. To provide genuine understanding of local wisdom regarding the making of salted egg, this study collects its data from observations and practices the researcher obtained by working along with the Chaiya VHV Salted Egg Community Enterprise from the beginning of the production process, materials and duck raising. As well as data collected from the questionnaire answered by members of the Community Enterprise and general consumers. Consequently, the researcher is able to provide the guidelines to develop the packaging design for Chaiya Salted Egg.                  The fieldwork data collection starts from the process of egg purchase, egg sorting, material mixing to the process of packing and the questionnaire data analysis collected from 70 consumers and 24 members of the Community Enterprise. The researcher uses local wisdom and the results from data analysis to redesign and make a model of the packaging which reached most of the members’ of the Community Enterprise satisfaction. The actual packaging was produced and used in selected store in order to test customers’ satisfaction regarding redesigned packaging.                The results show that the producers of salted egg are content with this redesigned packaging because it represents the Chaiya VHV Salted Egg Community Enterprise to public with simple way of communication. The logo and message on the package highlight the good points (duck and salted egg) of the Community Enterprise with concise and simple message which are friendly for consumers regarding the perfect date to cook salted eggs. The redesigned package is durable and has unique design compares with other packages. Most of the consumers satisfy with the redesigned package as a result of unique design, durability, attractiveness, strong handles and the story of the Community Enterprise which displayed on the package. This experiment shows that this study is a good opportunity to present the significance of packaging development that can elevate the local product to be more interesting and satisfying for customers.
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเป็นมาของภูมิปัญญาการทำไข่เค็มและบรรจุภัณฑ์  แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไข่เค็มโดยใช้วิธีการศึกษา  คือการเข้าร่วมสังเกตการณ์และลงมือปฏิบัติจริงกับทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็มอสม. เริ่มตั้งแต่วิธีการผลิต  วัตถุดิบ  การเลี้ยงเป็ดของทางกลุ่ม  เพื่อให้เข้าใจภูมิปัญญาในการผลิตไข่เค็มไชยา  จัดทำแบบสอบถามเพื่อหาความต้องการจากทั้งทางกลุ่มและผู้บริโภค  เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไข่เค็มไชยา           การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อไข่เป็ด การคัดแยกไข่เป็ด การผสมวัตถุดิบ จนถึงขั้นตอนบรรจุลงกล่องและการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามทั้งจากผู้บริโภคจำนวน 70 คน และสมาชิกกลุ่มจำนวน 24 คน  แล้วจึงนำภูมิปัญญารวมกับผลการวิเคราะห์มาออกแบบให้ทางกลุ่มเลือกรูปแบบกล่องที่ทางกลุ่มพึงพอใจมากที่สุด  จากนั้นจึงนำไปผลิตและวางขายจริงในร้านขายของฝากที่เลือก  เพื่อทดสอบผลการออกแบบถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคจากการซื้อบรรจุภัณฑ์ไข่เค็มแบบที่ทางกลุ่มเลือก           ผลการวิจัยแสดงว่า ผู้ผลิตมีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบครั้งนี้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์นำเสนอข้อมูลกลุ่มให้เป็นที่รู้จัก ใช้การอธิบายเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ตราสินค้านำเสนอจุดเด่นของกลุ่มได้ดี การใช้คำสื่อถึงไข่เค็มกระชับเข้าใจง่าย ถ้อยคำที่อยู่ข้างกล่องสื่อถึงความเป็นไข่เค็มไชยาได้ดี และส่วนของช่วงเวลาการบริโภคนำภาพมาช่วยสื่อให้ดูน่ารักและเข้าใจง่าย ตัวบรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้ดี รูปทรงดูแตกต่างจากที่อื่น  ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับแบบบรรจุภัณฑ์และซื้อเป็นของฝาก เห็นว่ารูปแบบมีความน่าสนใจแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ไข่เค็มที่วางขาย มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักไข่ได้ดี สวยงาม หูจับแข็งแรง และการออกแบบสามารถเล่าความเป็นกลุ่มให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ทำให้เป็นโอกาสดีที่ทำให้เห็นว่าสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นของฝากให้มีความน่าสนใจ และประทับใจสำหรับผู้พบเห็นและเลือกซื้อ 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2558
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58112301.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.