Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2560
Title: | Design Guidelines for Souvenirs of The Coin Museum, The Treasury Department แนวทางการออกแบบของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ กรมธนารักษ์ |
Authors: | Naphatkul RODRUANGSRI ณภัสสร์กุล รอดเรืองศรี Kannika Suteerattanapirom กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์/การออกแบบของที่ระลึก/ร้านจำหน่ายของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์ The Coin Museum The Treasury Department of Thailand Souvenir design Museum shop |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The aims of this research are to study the problems of souvenirs of the museum shop in The Coin Museum, The Treasury Department, and to suggest suitable and possible design guidelines for sale. The methods are to collect data from involved documents and inquire stakeholders about souvenirs and the museum shop of The Coin Museum. The population study is divided into three groups which are (1) government stakeholders, (2) stakeholders from private sectors and (3) people visiting The Coin Museum and its museum shop. Other methods are participation observation and non-participation observation, informal, semi-formal and in-depth interviews, and a survey of souvenirs at many museum shops in Thailand and foreign countries. The study indicates three problems about souvenirs. First, the museum is managed by a private company in the first term; the result is most souvenirs are not outstanding enough and not designed to present the museum’s identity. Second, the museum is managed by Bureau of Grand National Treasure of The Treasury Department in the second term, the result is most souvenirs are not various and functional. Third, the mutual problems under the management of the private company and Bureau of Grand National Treasure are the souvenirs are too expensive to buy, they are not designed to meet the needs of children and teenagers who are the largest target audience and souvenirs do not have some knowledge of the museum’s stories or items displayed in the museum.
From the result of the study, the guidelines for souvenir design of The Coin Museum are to 1) present the museum’s identity, 2) feature things, such as museum’s logo or name, to make the museum well-known, 3) show knowledge or necessary information on the souvenirs, 4) present symbols, national or local cultures, 5) be functional and 6) be beautiful and interesting. Considered as remarkable items which present museum’s identity, the researcher chooses four items which are (1) Pod Duang (bullet money), (2) coins with the Sun-Sriwatsa design (coins used during the Funan kingdom), (3) royal gift coins and (4) circulating coins produced in the reign of King Rama IX, and designs them to be functional with the lowest price of 10 bath and the highest price not over of 600 baht. Official marks or auspicious symbols imprinted on old money, involving religions and the monarch, could be used for souvenir design with careful consideration. In addition, proverbs, aphorisms or beliefs about money can be also chosen for design. According to stakeholder satisfaction surveys, most stakeholders feel completely satisfied with all of the guidelines and consequently Bureau of Grand National Treasure, The Treasury Department follows the mentioned guidelines for designing souvenirs of The Coin Museum.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ และเสนอแนวทางการออกแบบที่เหมาะสม และเป็นไปได้สำหรับจำหน่ายในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ วิธีการศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาจากเอกสารด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาจากการลงพื้นที่ภาคสนาม ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ ใช้วิธีการสำรวจทัศนคติ และความต้องการของที่ระลึกของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์และ Museum Shop โดยแบ่งประชากรที่ศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาครัฐ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคเอกชน 3) ผู้ใช้บริการพิพิธภัณฑ์และ Museum Shop การลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ใช้วิธีสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ/กึ่งทางการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก อีกทั้งการสำรวจของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์ประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบของที่ระลึกที่เหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับการจำหน่ายในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ จากการศึกษา ได้ผลดังนี้ ปัญหาที่พบได้แก่ 1. การบริหาร Museum Shop ช่วงที่ 1 โดยบริษัทเอกชน ของที่ระลึกส่วนใหญ่เป็นของที่ระลึกที่พบได้ทั่วไป และไม่สามารถแสดงอัตลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ได้ 2. การบริหาร Museum Shop ช่วงที่ 2 โดยสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ของที่ระลึกไม่มีความหลากหลายและไม่มีประโยชน์ใช้สอย 3. ปัญหาที่มีร่วมกันของการบริหาร Museum Shop ทั้ง 2 ช่วง คือ ของที่ระลึกมีราคาสูง และไม่ได้ออกแบบเพื่อเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นผู้ชมกลุ่มใหญ่และเป็นกลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งไม่มีการสอดแทรกความรู้ในของที่ระลึก แนวทางการออกแบบของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ กรมธนารักษ์ มีดังนี้ 1) การออกแบบของที่ระลึกเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ 2) การออกแบบของที่ระลึกเพื่อประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ 3) การออกแบบของที่ระลึกโดยให้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งในของที่ระลึก 4) การออกแบบของที่ระลึกโดยใช้สัญลักษณ์/วัฒนธรรมประจำชาติ/ประจำท้องถิ่นเป็นแรงบันดาลใจ 5) การออกแบบของที่ระลึกที่มีประโยชน์ใช้สอย 6) การออกแบบของที่ระลึกมีความสวยงาม น่าสนใจ ผู้วิจัยได้ทดลองออกแบบของที่ระลึกโดยนำปัญหา ความคิดเห็น และความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่ม มาเป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบ และนำอัตลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ที่โดดเด่น 4 อันดับแรก ได้แก่ 1) เงินพดด้วง 2) เหรียญอาทิตย์อุทัย - ศรีวัตสะ 3) เหรียญบรรณาการ 4) เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชกาลที่ 9 มาออกแบบเป็นของที่ระลึกที่มีประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยมีราคาต่ำที่สุด คือ 10 บาท จนถึงราคาสูงที่สุดไม่เกิน 600 บาท โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่วนเงินตราอื่น ๆ ที่มีตราประทับ หรือสัญลักษณ์มงคลที่มีความหมาย และมีความสวยงาม สามารถนำมาออกแบบเป็นของที่ระลึกได้เช่นกัน เช่นเดียวกับสำนวน/สุภาษิต และความเชื่อเกี่ยวกับเหรียญและเงินตราที่สามารถนำมาออกแบบเป็นของที่ระลึกได้ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการทดลองออกแบบในครั้งนี้ สรุปได้ว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน และสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ ได้นำแนวทางการออกแบบจากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ในปัจจุบัน |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2560 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58112304.pdf | 14.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.