Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2562
Title: AN APPROACH TO REVITALIZATION OF @BANGKOK NOI FLOATING MARKET
แนวทางการฟื้นตลาดน้ำ @บางกอกน้อย
Authors: Nipada PLAISRI
นิภาดา พลายศรี
RASMI SHOOCONGDEJ
รัศมี ชูทรงเดช
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: การฟื้น/การจัดการตลาดน้ำ/ตลาดน้ำ @บางกอกน้อย
Revitalization/Floating Market Management/@Bangkok Noi Floating Market
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of research are to study 1) the background, 2) the management, 3) the potential, and 4) the termination of @Bangkok Noi Floating Market, Baan-Bu community. The methodologies consist of documentary research, field research towards interviewing, observing by participatory and non-participatory research, and using the questionnaires through sustainable tourism and community tourism concepts. The results of research found that establishing @Bangkok Noi Floating Market, Baan-Bu community through the concept of Prathepsuwannamethee, the abbot of Suwannaram Ratchaworawiharn Temple, who desires to revive Wat Thong Market for tourism that in the past has not been successful. Therefore, establishing a floating market in Baan-Bu community which is an economic area that has cultural resources and could be managed Mr. Monchai Sue-Nguan agreed and supported with the idea to establish the market on 15th April, 2018. Management of @Bangkok Noi floating market included an appointment of administrative committee composing of monks and representative members. However, in practice, Mr. Monchai Sue-Nguan only played a major role on managing the floating market from the beginning until June 2019 for a total 14 months. Potential of @Bangkok Noi floating market included landscape and location, local good and service, and vision of abbot and floating market manager. Problems affecting the floating market to close are access to tourist attractions, variety of goods and service during low season, providing facilities, public relations, activity arrangement and lack of participation of local community. Seventh proposed guidelines for @Bangkok Noi Floating Market revival as followings: an appointment of the executive committee with corporation from all sectors, the determination of leaders and personnel development with a knowledge in floating market management, tourism development and promotion within Baan-Bu community by developing learning resources to support tourism in floating market, goods and service development for quality and variety, promoting to wider publics, and assessment of management in order to contribute to the problem solving and development of sustainable tourism.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา การจัดการ ศักยภาพ และการสิ้นสุดของตลาดน้ำ @บางกอกน้อย ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งภายในชุมชนบ้านบุ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ทั้งการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถามเป็นส่วนเสริม โดยใช้แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดการท่องเที่ยวชุมชนเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ตลาดน้ำ @บางกอกน้อยจัดตั้งขึ้นโดยแนวคิดของพระเทพสุวรรณเมธี เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ที่เห็นว่าความพยายามฟื้นตลาดวัดทองเพื่อการท่องเที่ยวที่ผ่านมายังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใดนัก การตั้งตลาดน้ำน่าจะเป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจของคนในชุมชนบ้านบุ เพราะมีทรัพยากรวัฒนธรรมที่สามารถนำมาจัดการในการท่องเที่ยวได้ แนวคิดการตั้งตลาดน้ำนี้ได้รับการสนับสนุนจากคุณมนต์ชัย สื่อหงวน จึงได้ก่อตั้งตลาดน้ำขึ้นและเปิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 ด้านการจัดการตลาดน้ำ @บางกอกน้อยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานซึ่งประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาส ในเชิงปฏิบัติคุณมนต์ชัยเป็นผู้มีบทบาทหลักเพียงคนเดียว การดำเนินการของตลาดน้ำตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดตลาดน้ำเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลา 14 เดือน ศักยภาพของตลาดน้ำ @บางกอกน้อยประกอบด้วย สถานที่ตั้งและภูมิทัศน์ สินค้าและบริการที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และวิสัยทัศน์ของเจ้าอาวาสและผู้บริหารตลาด ส่วนปัญหาที่ส่งผลต่อการสิ้นสุดของตลาดน้ำ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ความหลากหลายของสินค้าและบริการในระยะซบเซา การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม และการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ สำหรับแนวทางการฟื้นตลาดน้ำ @บางกอกน้อย ประกอบด้วยข้อเสนอ 7 แนวทาง ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การกำหนดแกนนำหลักและการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตลาดน้ำให้มีความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบุโดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวตลาดน้ำ การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและหลากหลาย การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและเหมาะสม การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และการประเมินการจัดการในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2562
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58112306.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.