Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2569
Title: Jewelry from Fresh Flowers Casting: Expanding Knowledge on Casting through the Use of Natural Resources for Micro Entrepreneurs
เครื่องประดับจากการหล่อดอกไม้สด : การสร้างองค์ความรู้การหล่อต้นแบบเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติเพื่อผู้ประกอบการขนาดย่อม
Authors: Korrakoch SAMRIT
กรกช สัมฤทธิ์
SUPAVEE SIRINKRAPORN
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: เครื่องประดับ
การหล่อ
วัสดุธรรมชาติ
Jewelry
Casting
Building
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Casting flowers by using wax lost technic is a new innovation in jewelry industries. To bring Beauties and uniques that human cant make and get the most of it. All kind of flower are different by delicate of shapes or layers, thickness and deterioration that causing to use different casting techniques. This innovation brings benefits to SME who can use to develop their product and labor skill. Casting result will bring natural beauties to jewelry pieces and change commodity product to be Innovative products. Research tools is 1. Study and analysis of jewelry casting from natural materials. To create innovations in casting jewelry 2. Study art And forms of jewelry made from natural materials. to find ideas for expressing feelings through jewelry Research results 1. technical side. Various flowers can be used in the casting process. We dividing the flowers into 3 groups, Flowers that are rigid and not rigid in structure, And flower with complex structure. Physical analysis such as shape, thickness, material hardness all affect to mold and directly affect in the jewelry pieces. 2. feelling side. Analyze and make jewelry according to the concept “Duhkha”  mean when it happened It not like that forever. Make an idea about past beauty because when human growth that not different from the growth of flowers. 3. promotion side. Increase the value of jewelry and make benefit to SME businese. Because it is made from things around and to make the most of it.
การหล่อเครื่องประดับโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนเทียนขี้ผึ้ง (wax) เป็นการสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการของอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยนำความงามจากธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ก่อให้เกิดรูปลักษณ์ใหม่ วัสดุทางธรรมชาติแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เนื่องจากความหนาบางการเสื่อมสภาพและความซับซ้อนของพื้นผิววัตถุ ทำให้เทคนิคที่ใช้ในการหล่อแตกต่างกัน การประยุกต์วัสดุทางธรรมชาติสามารถสร้างประโยชน์ต่อผู้ประกอบการขนาดย่อม (micro enterprise) นำองค์ความรู้ไปต่อยอดทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พัฒนารูปแบบของสินค้าและสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมโดยมีฐานความคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าแบบ “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้า “นวัตกรรมเชิงกระบวนการ” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1 : ศึกษาและวิเคราะห์การหล่อเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการในการหล่อเครื่องประดับ 2 : ศึกษาอัตลักษณ์เและรูปแบบเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อค้นหาแนวคิดในการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านเครื่องประดับจากการหล่อวัสดุจากธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านเทคนิค : ดอกไม้ต่างๆจากธรรมชาติ สามารถทำการหล่อเป็นเครื่องประดับได้และแบ่งโครงสร้างเป็น 3 ระดับ คือ ดอกไม้ที่มีโครงสร้างแข็งแรง , ดอกไม้ที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรง , ดอกไม้ที่มีโครงสร้างซับซ้อน วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ รูปร่าง รูปทรง ความหนา ความแข็งแรงของวัสดุมีผลต่อคุณภาพของโพรงแบบปูน (เบ้าหล่อ) และส่งผลต่อชิ้นงานโลหะโดยตรง   2. ด้านการสื่อสาร : วิเคราะห์และสร้างเครื่องประดับแนวคิดเรื่อง ทุกขัง คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้นๆได้ตลอดไป สะท้อนในความคิดเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความงามในอดีตเพราะในชีวิตของการเจริญเติบโตของมนุษย์นั้น ไม่ต่างกับการเจริญเติบโตของดอกไม้ 3.ด้านการส่งเสริม : พัฒนาเพิ่มมูลค่าในงานเครื่องประดับ สามารถสร้างประโยชน์สร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อม (micro enterprise) ผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเกิดจากการนำวัสดุธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อมรอบตัวเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2569
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58157309.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.