Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2575
Title: The design of home decor products to reflect fun of costumes of country music bands
การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง
Authors: Anakkanon RUGYART
อนรรฆณนท์ รักญาติ
Patave Arrayapharnon
ปฐวี อารยภานนท์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ของตกแต่งบ้าน / ความสนุกสนาน / วงดนตรีลูกทุ่ง
HOME DECOR PRODUCTS / FUN / COUNTRY MUSIC BANDS.
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to 1) study elements that reflect the fun from the country music bands, 2) find ways to design products for home decoration that refection the fun from the country music bands, and 3) to assess the sample's satisfaction with home decoration products that reflect the fun from country music bands. A combined research method consisting of two parts was used. The first part was qualitative research, using survey, observation and interview of experts in country music bands and home decor products experts as tools. The data was inductively analyzed and investigated if it conformed with the theory related to the design of lamp products. The second part was a quantitative research using customer satisfaction from. There were 100 participants whose satisfaction was analyzed to learn the percentage, average and standard deviation. According to the result of the study of elements and ways to design products for home decoration that reflect the fun from country music bands, it was found that country music bands can be linked to product design guidelines for home decor, with clothing as an important element,  with the essential elements being the form, the colours and the materials. The design directions can be specified in two concepts; A “prominent radiance” and B “movable and lively mechanism”. These two concepts lead to the creation of 6 design guidelines, including A1 “Phet Prakaai Saeng”, A2 “Moo Kaeo Phachara” and A3 “Butsara Pannee”, B1 “Sam Cha Pha Phloen” B2 “Ban Thoeng Hua Jai” and B3 “Sod Sai Khruen Kherng”. The design is consistent with George Santana’s Pleasure theory in beauty, forms and manifestations of power. The results of the consumer satisfaction assessment of home decoration products that reflect fun of country music bands found that, in general, the consumers were satisfied with the products of the home decoration in the category of lamps in the concept of “Theid Thoeng Roeng Ra”, with the B1 style “Sam Cha Pha Phloen” the highest, with moderate satisfaction, with a mean = 3.36, and standard deviation 0.78.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง 2) ค้นหาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง 3) ประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านวงดนตรีลูกทุ่งและผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน วิเคราะห์แบบอุปนัยและหาความสอดคล้องกับทฤษฎี เพื่อเชื่อมโยงสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านประเภทโคมไฟ ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาองค์ประกอบที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง และการค้นหาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่า วงดนตรีลูกทุ่งสามารถเชื่อมโยงสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านได้โดยมีเครื่องแต่งกายสิ่งสะท้อนความสนุกสนาน ได้แก่ รูปแบบ สีสัน และวัสดุ ซึ่งกำหนดทิศทางการออกแบบได้ 2 ทิศทาง คือ A “มองเห็นเด่นไกล เจิดจรัสรัศมี” และ B “กลไกขยับได้ เถิดเทิงเริงร่า” สำหรับนำไปสู่แนวทางการออกแบบ 6 แนวทาง ได้แก่ A1 “เพชรประกายแสง” A2 “หมู่แก้วพัชรา” และ A3 “บุษราพรรณี” B1 “สามช่าพาเพลิน” B2 “บันเทิงหัวใจ” และ B3 “สดใสครื้นเครง” ซึ่งการออกแบบมีความสอดคล้องกับทฤษฎีสุขารมณ์ รตินิยม ของ ยอร์ช ซันตายานา ด้านความงามของวัตถุ รูปแบบ และการสำแดงพลัง ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความสนุกสนานจากวงดนตรีลูกทุ่ง พบว่า โดยภาพรวมผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านประเภทโคมไฟในแนวคิด B “เถิดเทิงเริงร่า” โดยรูปแบบ B1 “สามช่าพาเพลิน” สูงที่สุด โดยมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2575
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60155306.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.