Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/261
Title: รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา โคโรฟิลด์ อำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี
Other Titles: PATTERNS AND STRATEGIES FOR AGRO-TOURISM BUSINESS: A CASE STUDY OF CORO FIELD SUAN PHUENG DISTRICT, RATCHABURI PROVINCE
Authors: พรรณรัตน์, ปาลิตา
Pannarat, Palita
Keywords: รูปแบบ
กลยุทธ์
ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
โคโรฟิลด์
PATTERN
STRATEGIE
AGRO-TOURISM BUSINESS
CORO FIELD
Issue Date: 26-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ กลยุทธ์ และความรับผิดชอบต่อสังคม ในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของโคโรฟิลด์ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหาร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คำถามปลายเปิดที่ใช้ในการสัมภาษณ์และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า โคโรฟิลด์มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นธุรกิจภายในครอบครัว บริหารงานโดยสองพี่น้อง จดทะเบียนในรูปแบบบริษัท มีพนักงานประจำทั้งที่กรุงเทพมหานคร และที่ฟาร์ม ด้านกลยุทธ์พบว่า 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มีทั้งปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ 2) ส่วนประสมทางการตลาด ครอบคลุมทั้งกลยุทธ์ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ แต่ควรขยายพื้นที่ของฟาร์มเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อการเติบโตทางธุรกิจที่ 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม ถึงแม้ฟาร์มจะเปิดให้บริการไม่ถึงหนึ่งปี แต่ผู้บริหารกลับเล็งเห็นคุณค่าต่อการตอบแทนสังคม โดยการนำผักที่นักท่องเที่ยวมาปลูกไว้ไปบริจาคให้กับโรงเรียนยากไร้และองค์กรต่างๆที่ต้องการ นอกจากนี้มีการทำโครงการโคโรแคร์ เพื่อระดมเงินจากการประมูลภาพวาดของศิลปินที่มีชื่อเสียงและนำเงินไปสนับสนุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความสนใจในการทำการเกษตร ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นๆในการนำไปวางแผนและพัฒนาธุรกิจ The objective of this research is to study about patterns, strategies and corporate social responsibility of Agro-tourism business operations of Coro field Suan Phupeng district, Ratchaburi province. This research is a qualitative research using a phenomenological research method. The researchers collected the information by in-depth interview with the founder of the board. The tool used in this research was the structured questionnaire for the interview, and there was an information analysis by descriptive analysis method. The research finds that the business at Coro field is a family business and is managed by two brothers. They have a business license, full time and part time staffs at Bangkok and Ratchaburi. The report found that 1) The situation analysis of the business operation includes internal environment: strengths and weakness and external environment: opportunities and threats that affect the business. 2) Marketing mix covered by strategy of product, price, place, people, physical evidence and process. The report suggests the farm should be expanded for more tourism, marketing and growing products. 3) Corporate social responsibility. Although farm has been open less than one year the entrepreneurs focus on doing social charity work by donating vegetables that tourist’s plant to poor schools and some organizations. They are also involved in the Coro care project for raising money using pictures from famous artists and use the money to support students education and encourage, help and motivate students with a passion for agriculture. The result of this study can be used as guidelines for planning and business owners to plan and improve operations.
Description: 57602725 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- ปาลิตา พรรณรัตน์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/261
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ปาลิตา.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.