Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2612
Title: THE DEVELOPMENT OF ONLINE READING INSTRUCTIONAL MODEL THROUGH READING COMPREHENSION STRATEGIES INTEGRATING WITH COGNITIVE ACADEMIC LANGUAGE LEARNING APPROACH (CALLA) TO ENHANCE ACADEMIC ONLINE READING ABILITY AND STRATEGY USE FOR UNDERGRADUATE STUDENTS​
การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านออนไลน์โดยใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจบูรณาการกับแนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการ (CALLA) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์และการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: Nattakrita BOONBONGKOTRAT
ณัฐกฤตา บุญบงกชรัตน์
Wisa Chattiwat
วิสาข์ จัติวัตร์
Silpakorn University. Education
Keywords: การอ่านออนไลน์ กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจ แนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์
Online Reading Reading Comprehension Strategies CALLA Academic Online Reading Ability
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to; 1) develop and determine the efficiency of Online Reading Instructional Model Through Reading Comprehension Strategies Integrating with Cognitive Academic Language Learning Approach (CALLA) to Enhance Academic Online Reading Ability and Strategy Use for Undergraduate Students 2) estimate the effectiveness of the Model by 2.1) comparing students’ academic online reading ability before and after learning by using model 2.2) comparing students’ reading comprehension strategies use before and after learning by using model 2.3) studying students’ satisfaction toward the model, and 3) verify Online Reading Instructional Model Through Reading Comprehension Strategies Integrating with Cognitive Academic Language Learning Approach (CALLA) The samples of this research were 27 of 3rd year Microbiology undergraduate students who enrolled English for Microbiology 2 subject in Semester 2 of Academic year B.E. 2561 at Nakhon Pathom Rajabhat University, by Purposive Sampling The experiment was carried out for 16 weeks. The research instruments used in this research were 1) PESSE Model including teacher’s manual, 8 lesson plans and exercises 2) Academic Online Reading Ability Test 3) Reading Comprehension Strategies Survey 4) Reading Log 5) Questionnaire for students’ satisfaction toward this model   The statistics used were Mean, S.D. for quantitative data and content analysis for qualitative data The results were as follows: 1) The Online Reading Instructional Model Through Reading Comprehension Strategies Integrating with Cognitive Academic Language Learning Approach (CALLA) to Enhance Academic Online Reading Ability and Strategy Use for Undergraduate Students consists of 5 components; principles, objectives, teaching and learning management, teaching and learning procedure, and evaluation including 5 phases: Phase 1 P: Preparation, Phase 2 E: Explicit Instruction Presentation, Phase 3 S: Strategies Practice, Phase 4 S: Self Evaluation) and Phase 5 E: Expansion. The PESSE Model was verified by five experts at a highest level and the efficiency of the model met the assigned criteria 80/80. 2) The students’ academic online reading ability after learning by the PESSE model was higher than before learning significantly at 0.05. 3) The students’ reading strategies use after learning by the PESSE model was higher than before learning significantly at 0.05. Critically evaluating information online, Determining Main Ideas and Locating information from multiple online resources were the highest strategies used. 4) The students were satisfied with the PESSE Model at the highest level in benefit, activities, form, and content aspects. 5) The PESSE Model was verified by five experts at the highest which is congruent with the theories’ rationality and probability.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์เน้นการใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจและแนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการ (CALLA) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์และการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ คือ 2.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 2.2) เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบ 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบ และ 3) เพื่อการประเมินผลรับรองรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์เน้นการใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจและแนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับจุลชีววิทยา 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การทดลองใช้เวลา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบจำนวน 8 แผนและแบบฝึก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์ 3) แบบสำรวจการใช้กลวิธีในการอ่าน 4) แบบบันทึกการอ่าน 5) แบบสอบถามพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนอ่านออนไลน์เน้นการใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจและแนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการ (CALLA) ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล มีขั้นตอนการดำเนินงานเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การเตรียม (P: Preparation) ระยะที่ 2 การนำเสนอ (E: Explicit Instruction Presentation) ระยะที่ 3 การฝึก (S: Strategies Practice) ระยะที่ 4 การประเมิน (S: Self Evaluation) และ ระยะที่ 5 การขยาย (E: Expansion) ซึ่งรูปแบบได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ว่ามีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้และมีความสอดคล้องในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยรูปแบบเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) จำนวนการใช้กลวิธีในการอ่านของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนรูปแบบเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 กลวิธีที่ผู้เรียนใช้มากที่สุดได้แก่ ประเมินข้อมูลออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ  หาใจความสำคัญ สร้างและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งออนไลน์ที่หลากหลาย 4) กลุ่มตัวอย่างมีพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในด้านคุณประโยชน์ ด้านกิจกรรม ด้านรูปแบบ และด้านเนื้อหา 5) รูปแบบการสอนอ่านออนไลน์เน้นการใช้กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจและแนวทางการเรียนรู้ภาษาในการอ่านเชิงวิชาการ (CALLA) ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ว่ามีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้และมีความสอดคล้องในระดับดีมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2612
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57254906.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.