Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2621
Title: | THE LEARNING SOCIETY MODEL IN SCHOOLS OF NAKHON PATHOM CITY MUNICIPALITY รูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครปฐม |
Authors: | Khwanta CHAROENSRI ขวัญตา เจริญศรี WANNAWEE BOONKOUM วรรณวีร์ บุญคุ้ม Silpakorn University. Education |
Keywords: | รูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ สถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครปฐม THE LEARNING SOCIETY MODEL SCHOOLS OF NAKHON PATHOM CITY MUNICIPALITY |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) study situation of learning society in schools of Nakhon Pathom City Municipality, and 2) create the learning society model in schools of
Nakhon Pathom City Municipality. Mixed methods approach was used in this study.
For quantitative method, a questionnaire was used to collect data from twelve Nakhon Pathom City Municipality’s schools. The sample were 336 members of administrators, teachers, and educational committees. For qualitative method, documentary analysis and connoisseurship meetings with experts were applied. The collected data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and stepwise multiple regression.
The findings of the research were as follows: (1) The situation of learning society in schools of Nakhon Pathom City Municipality were administrators and teachers had a holistic way of thinking, clear and systematical plan, interested in finding new knowledge and a various ways of learning, exchanging knowledge to achieve goals, and applying technology for communication and work. The situation of learning society in schools was composed of five elements: 1) system thinking, 2) learning dynamic, 3) team learning, 4) knowledge management and knowledge transfer, and 5) technology and communication. The situation of learning society in schools of Nakhon Pathom City Municipality, as a whole and as an individual, were found at a high level.
(2) A developed learning society model in schools of Nakhon Pathom City Municipality
consisted of five elements: 1) system thinking, 2) learning dynamic, 3) team learning,
4) knowledge management and knowledge transfer, and 5) technology and communication.
Factors affected to learning society were composed of: 1) personal development, 2) teamwork,
3) organizational culture, 4) knowledge transfer, 5) technology and communication, and
6) organizational structure. The experts agreed that the model was propriety, feasibility, utility, and accuracy at a highest level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครปฐม และ 2) สร้างรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครปฐม ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Approach) ด้วยการศึกษา ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จากสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 336 คน การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และ การประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล นครนครปฐม มีสภาพการณ์การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีวิธีคิดแบบองค์รวม วางแผนการทำงานได้ชัดเจนและเป็นระบบ มีความสนใจที่จะค้นหาความรู้ใหม่ ๆ มีวิธีการเรียนรู้หลากหลาย และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน มีการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ และปฏิบัติงานร่วมกัน มีการแบ่งปันเพื่อ พัฒนาการถ่ายทอดความรู้ และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารและการปฏิบัติงาน โดยมีองค์ประกอบ สำคัญ ดังนี้ 1) การคิดเชิงระบบ 2) พลวัตการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 4) การจัดการและการถ่ายทอด องค์ความรู้ และ 5) การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร ผลการศึกษายังพบว่า สภาพการณ์การเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครปฐม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) รูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครปฐมมีองค์ประกอบของสังคมแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ ดังนี้ 1) การคิดเชิงระบบ 2) พลวัตการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 4) การจัดการและ การถ่ายทอดองค์ความรู้ และ 5) การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การทำงานเป็นทีม 3) วัฒนธรรมองค์การ 4) การถ่ายทอดองค์ความรู้ 5) เทคโนโลยีการเรียนรู้ และ 6) โครงสร้างองค์การ และผลการตรวจสอบและรับรองรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องครอบคลุม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2621 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57260911.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.