Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/266
Title: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้ในหลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงาน
Other Titles: THE STUDY OF CAUSAL RELATIONSHIP BETWEEN SOME FACTORS AFFECTING BRAND AWARENESS IN LED LIGHTING FOR SAVING ENERGY
Authors: นุชประเสริฐ, พิราพร
Nuchprasert, Piraporn
Keywords: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
การตระหนักรู้ตราสินค้า
หลอดไฟแอลอีดี
ประหยัดพลังงาน
CUSUAL FACTORS
BRAND AWARENESS
LED LIGHTING
SAVE ENERGY
Issue Date: 14-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้ในหลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงาน และศึกษาความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความตระหนักรู้ในหลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจหรือต้องการซื้อหลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงาน จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยเชิงบางประการที่ส่งผลความตระหนักรู้ในหลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน 5 ดัชนีประกอบด้วยค่าไค-สแควร์ค่า GFI ค่า RMSEA ค่า NNFI และค่า CFI ผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้หลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงาน พบว่า 1) ปัจจัยทางการรับรู้ตราสินค้า ประกอบด้วย การรู้จักตราสินค้า คุณภาพที่เกิดจากการรับรู้ตราสินค้า และความสัมพันธ์ของตราสินค้าที่เกิดจากการรับรู้ มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.84 2) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความตระหนักรู้ในตราสินค้า มีค่าเท่ากับ 0.40 3) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ประกอบไปด้วย เจตคติต่อการประหยัดพลังงาน การรับรู้ความสามารถชองตนในการประหยัดพลังงาน การรับรู้ถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า และค่านิยมความสะดวก มีค่าเท่ากับ 0.40 4) ปัจจัยด้านสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย สิ่งกระตุ้นภายใน และสิ่งกระตุ้นภายนอก มีค่าเท่ากับ 0.20 สำหรับผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความตระหนักรู้หลอดไฟแอลอีดีเพื่อประหยัดพลังงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกันแสดงความเหมาะสมของข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน (KMO and Barlett’s Test) พบว่า ค่า KMO มีค่าเท่ากับ .87 ซึ่งมีค่ามากกว่า .05 และเข้าใกล้ 1 จึงสรุปได้ว่าข้อมูลมีความเหมาะสมในการใช้เทคนิค Factor Analysis และ Bartlett's Test of Sphericityมีค่าเท่ากับ 12,139.72 และค่า Sig. มีค่าเท่ากับ .000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 จึงสามารถสรุปได้ว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน และสมควรใช้ Factor Analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 94.24 ที่องศาอิสระ (Degree of Freedom) เท่ากับ 61 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation, (RMSEA) เท่ากับ 0.037 ค่าไค-แสควร์สมพัทธ์ (Chi-square) ต่อองศาอิสระ (Chi-square/df) มีค่าเท่ากับ 1.55 The purposes of this research was study causal relationship between some factors affecting brand awareness in LED lighting for saving energy and examined concordance between structures Model of LED lighting for saving energy and empirical data. Samples of this research were 400 people interested or desired to purchase and LED lighting for saving energy. The tools used in this research were the questionnaire about causal relationship between some factors affecting brand awareness in LED lighting for saving energy. The statistics were frequency, Percentage, mean and standard deviation. For the statistic used in hypothesis testing was 5 Indicators harmony index. Include Chi - square, RMSEA values NNFI the GFI and the CFI. The study causal Factors that affected to brand awareness of LED lighting for saving energy showed the factors 1) Brand perception included knowing brand, quality of product and the relationship with brand promotion that affect to brand awareness = 0.84 2) Marketing mix included product, price, place and promotion that affect to brand awareness = 0.403) Factors of psychology included attitude of saving energy, consciousnessof saving energy, Knowing the problems of lacking the energy and Values of easethat affect to brand awareness = 0.40 4.) Stimulus of consuming the products included Internal stimulus and External stimulusthat affect to brand awareness = 0.20 The suitability of the information and test (KMO and Barlett's Test) indicated that the KMO = .867, which is greater than. 05 and approaching 1, conclude that the data are suitable for use Factor Analysis and Bartlett's Test of Sphericity = 12,139.72, Sig. values. = 000., less than .05, concluded that the variables are interrelated and should use Factor Analysis to analyze the data. For examine concordance between structures Model brand awareness of LED lighting for saving energy and empirical data had the concordance, considering by Chi – square = 94.24, Degree of Freedom = 61, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.037 and Chi-Square/df= 1.55
Description: 57602748 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- พิราพร นุชประเสริฐ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/266
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พิราพร.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.