Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2686
Title: The Development of an Essay Writing Abilities using Synectics Instructional Model Via Bloom’s High Taxonomy Question of Matthayomsueksa 1 Students
การพัฒนาความสามารถการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยคำถามขั้นสูงของบลูม
Authors: Soraya CHUMPENGPAN
โศรยา ชุ่มเพ็งพันธุ์
BUSABA BUASOMBOON
บุษบา บัวสมบูรณ์
Silpakorn University. Education
Keywords: ความสามารถการเขียนความเรียง
รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์
คำถามขั้นสูงของบลูม
Ability of Writing an Essay
Synectics Instructional Model
Bloom’s High Taxonomy Question
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this experimental study was: 1) to compare the ability of writing an essay of matthayomsueksa 1 students before and after learning by using Synectics Instructional Model via Bloom’s High Taxonomy Question. 2) to develop the ability of writing an essay to the criteria of 75 percent. 3) to investigate the opinion of the matthayomsueksa 1 students towards the learning management of Synectics Instructional Model via Bloom’s High Taxonomy Question. The population of this study was matthayomsueksa 1/3 students in Anuraja Prasit school of the second semester in academic year 2019 the forty-seven student were unit of sampling random. The research instrument is pre and post essay writing ability test, lesson plan, questionnaires on students’ opinions toward synectics learning management. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent and the criteria of 75 percent with t-test one sample. The results of the study indicate that the post essay writing abilities test (x̄ = 22.50, S.D. = 2.17) : was higher than the pre-essay writing ability test (x̄ = 18.07, S.D. = 2.38). The scores were significantly at the 0.05 level. The result of Bloom’s synectics learning management more complexed question according to the criteria of 75 percent with t-test one sample the student passed 75 percent with mean score of 22.50 and the opinion of matthayomsueksa 1/3 students toward the Synectics Instructional Model via Bloom’s High Taxonomy Question was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยคำถามขั้นสูงของบลูม 2) เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน อนุราชประสิทธิ์ หลังเรียนให้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยคำถามขั้นสูงของบลูม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียน อนุราชประสิทธิ์ จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน แบบซินเนคติกส์เสริมด้วยคำถามขั้นสูงของบลูม 2) แบบทดสอบการเขียนความเรียง 3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยคำถามขั้นสูงของบลูม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที แบบไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการเขียนความเรียงของนักเรียนที่จัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ร่วมกับคำถามของบลูม หลังเรียน (x̄ = 22.50, S.D. = 2.38) สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน (x̄ = 18.07, S.D. = 2.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .5 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ร่วมกับ คำถามของบลูม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2686
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58255310.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.