Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2702
Title: THE DEVELOPMENT OF LEARNING PACKAGE: LIVABLE COMMUNITY HAPPY SAMROIYOD FOR MATTHAYOM 4 STUDENTS SAMROIYOD WITTHAYAKHOM SCHOOL
การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม
Authors: Piyawan BORIHARNPANIT
ปิยะวรรณ บริหารพานิช
Phenphanor Phuangphae
เพ็ญพนอ พ่วงแพ
Silpakorn University. Education
Keywords: ชุดการเรียนรู้
ชุมชนน่าอยู่
สามร้อยยอดมีสุข
LEARNING PACKAGE
LIVABLE COMMUNITY
HAPPY SAMROIYOD
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to:1) study basic information to develop a Learning Package:Livable community Happy Samroiyod  2) develop Learning Package: Livable community Happy Samroiyod to meet the efficiency criterion of 80/80. and 3) mind evaluation of the development of Learning Package: Livable community Happy Samroiyod The samples consisted of 30 students of 10th grade students class 4/3 of Samroiyodwittayakhom under Secondary Educational Service Area office: Area 10 studying during 2nd Semester in academic year 2019. The trial period was for 15 hours. The Research instruments were: 1) Learning Package: Livable Community Happy Samroiyod 2) Achievement Test: Pre-test and Post-test 3) Lesson plans on Livable community Happy Samroiyod. 4) A questionnaire. Statistics used in this research were Percentage, Mean, Standard deviation, t-test for dependent and Content Analysis. The research results were as follows 1. The result of this research: LIVABLE COMMUNITY  HAPPY SAMROIYOD FOR MATTHAYOM 4 STUDENTS The result of development of Learning Package: Livable community Happy Samroiyod for matthayom 4 students consisted of 5 Learning Package as follows: 1)Check in Samroiyod 2)Tell a storylegend Samroiyod 3) Sustainable economy Samroiyod lump sum 4) Life ways folk ways Samroiyod  5) To worship Samroiyod This learning Package attained the efficiency index at 89.53/81.11 which is higher than defined criteria 80/80. 2. Learning achievement of matthayom 4 students after studying with learning Package: Livable community Happy Samroiyod is higher than before studying at the statistical significance level of .05. 3. Students have a good feedback and they had opinions about the learning kit that it was easy to understand, fun, and it made them feel motivated in learning. They wanted teacher to use this learning kit with the other subjects.
การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข ให้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่  สามร้อยยอดมีสุข และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการทดลอง 15 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า t-test แบบ dependent  และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 ชุดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) เช็คอินถิ่นสามร้อยยอด 2) เล่าขานตำนานสามร้อยยอด 3) เศรษฐกิจยั่งยืน สามร้อยยอดล่ำซำ 4) วิถีคน วิถีถิ่นสามร้อยยอด และ 5) สักการะพ่อปู่สามร้อยยอด โดยชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 89.53/81.11 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80 2. ผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่ สามร้อยยอดมีสุข มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนน่าอยู่  สามร้อยยอดมีสุข ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคิดเห็นว่า ชุดการเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียนได้ เข้าใจง่าย สนุกสนาน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และอยากให้ครูจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ในสาระวิชาอื่น ๆ ด้วย
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2702
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58262305.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.