Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2729
Title: | THE ADMINISTRATION OF PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITIES IN SECONDARY SCHOOL การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา |
Authors: | Supattra SAPAP-UD สุภัทรา สภาพอัตถ์ Mattana Wangthanomsak มัทนา วังถนอมศักดิ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | การบริหารจัดการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนมัธยมศึกษา ADMINISTRATION PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITIES SECONDARY SCHOOL |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) to determine the administration of professional learning communities in the secondary school and 2) to study the opinions of the secondary school directors in Nakhon Pahom toward professional learning communities in the secondary schools. The research procedure consisted of
2 steps: 1) collecting, analyzing and summarizing data from 21 experts regarding the administration of professional learning communities in the secondary school by using Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. The research instruments were semi-structured interviews and questionnaires. 2) Meeting with 29 secondary school directors to gather opinion on the administration of professional learning communities in the secondary schools. The statistics for data analysis were median, mode, interquartile range, and content analysis.
The research findings revealed that:
1. The administration of professional learning communities in the secondary school consisted of
6 components (73 items) : 1) leadership (18 items) 2) planning and preparing (13 items) 3) distributing leadership
(5 items) 4) personnel development (12 items) 5) supporting resources (10 items) 6) monitoring and evaluation
(15 items)
2. The opinions of the secondary school directors in Nakhon Pahom toward the administration of professional learning communities in the secondary school was consistent with the aforementioned
6 components (73 items) of the administration of professional learning communities in the secondary school and emphasized that 1) the school director must be a leader at the beginning of the administration of professional learning communities and fully comprehends the professional learning communities, 2) the school director needs to raise teacher’s awareness and inspiration; “explosion from within”, 3) the school director should promote teachers to be confident, independent, and self-leading to choose learning methods for students, 4) the school director has to encourage self-leading team in school, 5) Should not clearly schedule for the school director to join the professional learning communities in the school, 6) monitoring and evaluation was important for the professional learning communities to continue so sustainably and become a school’s norm. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อทราบทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การรวบรวม วิเคราะห์และสรุปความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 21 คน เกี่ยวกับการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต แบบ EDFR เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น 2) การประชุมแสดงทัศนะ ของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จากผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 6 ด้าน 73 ประเด็น ได้แก่ 1) การนำองค์กร ประกอบด้วย 18 ประเด็น 2) การวางแผนและการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 13 ประเด็น 3) การกระจายภาวะผู้นำ ประกอบด้วย 5 ประเด็น 4) การพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย 12 ประเด็น 5) การส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร ประกอบด้วย 10 ประเด็น และ 6) การกำกับดูแล ติดตามและประเมินผล ประกอบด้วย 15 ประเด็น 2) ทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกับการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 ด้าน 73 ประเด็น และมีทัศนะเพิ่มเติม ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้นำในระยะเริ่มต้น ของการนำองค์กรเพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และต้องมีความเข้าใจในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างถูกต้อง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักและแรงบันดาลใจ “การระเบิดจากข้างใน” ให้เกิดขึ้นกับครู 3) ส่งเสริม ให้ครูทุกคนเกิดภาวะผู้นำในตนเอง มีอิสระและมั่นใจในการเลือกแนวทางการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน 4) ควรสร้างทีมงาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนและครูที่มีความเชี่ยวชาญสามารถอยู่ในกลุ่มที่อิสระได้ 5) ไม่ควรกำหนดตารางชั่วโมง ที่ชัดเจนให้ผู้บริหารสถานศึกษาเข้ากลุ่มกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา 6) การกำกับดูแล ติดตามและประเมินผล มีความสำคัญเพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ไม่ล้มเลิกกลางทาง และเพื่อให้เกิด ความยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในที่สุด |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2729 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59252927.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.