Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2731
Title: PEER COACHING TO PROMOTE THE LEARNING MANAGEMENT COMPETENCY OF THAI LANGUAGE TEACHERS BASED ON ACTIVE LEARNING THEORY TO DEVELOP READING COMPREHENSION SKILLS OF PRIMARY STUDENTS
การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 
Authors: Amalueda PONGSAK
อมฤดา พงษ์ศักดิ์
chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
Silpakorn University. Education
Keywords: การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
Active Learning
ทักษะการอ่านจับใจความ
PEER COACHING
ACTIVE LEARNING
READING COMPREHENSION SKILLS
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The Purposes of this research were to study: 1) To study in Peer Coaching. 1.1) Knowledge and understanding about peer coaching. 1.2) Competency of the peer coaching. 2) To Study in learning management competency. 2.1) Knowledge and understanding about Active Learning Approach. 2.2) Writing competency in Lesson plans. 2.3) Development of learning management competency. 3) Development reading comprehension skills. 4) Satisfaction of students. The satisfaction of students to learning. The samples of this study were of the second and fourth grades Thai Language teachers’ and 22 students from Numprasongwittaya School of Nonthaburi Primary Education Service Area Office 1. The instruments used were interview, evaluation forms and tests.The Statistial analysis employed were mean (), standard deviation (S.D.) and Percentage (%)           The results of the study were as follows :            1. Knowledge and understanding about peer coaching is appropriately of School context to Exchange experience and competency of the peer coaching to processes were good level.           2. Knowledge and understanding about Active Learning Approach to self learning processes and apply, Writing competency in Lesson plans were very good level and Development of learning management competency were higher level.           3. Development reading comprehension skills of the students increased after using and high level           4. The satisfaction of students to learning in high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ดังนี้ 1.1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนของครูภาษาไทยหลังได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน1.2) ความสามารถในการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนของครูภาษาไทยที่ทำหน้าที่โค้ช 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ดังนี้ 2.1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning หลังได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2.2) ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2.3) พัฒนาการความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการของทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิด Active Learning จากครูที่ได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ที่ได้รับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน อาสาสมัครในการวิจัยคือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4 จำนวน 2 คน นักเรียนจำนวน 22 คน จำนวน 2 ห้อง ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนนุ่มประสงค์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่าร้อยละ (%)             ผลการวิจัย พบว่า             1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ และมีความสามารถในการโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ในระดับดี             2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ว่าเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก และครูมีพัฒนาการในการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น             3. นักเรียนมีพัฒนาการการอ่านจับใจความตามแนวคิด Active Learning             4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2731
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59253303.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.