Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2735
Title: THE DEVELOPMENT OF SCIENCE PROCESS SKILL AND PROJECT ABILITY OF PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS THROUGH THE USES OF PROJECT BASED LEARNING METHOD
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
Authors: Nipa TRIJAEMJAN
นิภา ตรีแจ่มจันทร์
Ubonwan Songserm
อุบลวรรณ ส่งเสริม
Silpakorn University. Education
Keywords: การสอนแบบโครงงาน / ความสามารถในการทำโครงงาน / ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
PROJECT BASED LEARNING / PROJECT ABILITY / SCIENCE PROCESS SKILL
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research had the purposes 1) to compare the science achievement before and after using project based learning activities about Force and Motion of Prathomsuksa 5 students, 2) to study science process skills during using project based learning activities of Prathomsuksa 5 students, 3) to study project ability after using project based learning activities of Prathomsuksa 5 students, 4) to study an opinion of Prathomsuksa 5 students about project based learning. Sample group used in this study was Prathomsuksa 5/3  WatbangLuang school  Bang Len, Nakhon Pathom in second semester, academic year 2561 all 31 people  by using One Group Pretest-Posttest Design for 20 hours.   The methods of this study were 1) 4-hour teaching plan base on project based learning process about Force and Motion 5 plans total 20 hours, 2) science achievement tests about Force and Motion for Prathomsuksa 5 students, 3) science process skills assessment form, 4) project ability assessment form, 5) Student Opinion Questionnaires about project based learning activities. Statistics used for analyzing were mean (x̄), Standard Deviation (S.D.) and t-test Dependent Sample. The result found that 1) the posttest score of science achievement tests about Force and Motion for Prathomsuksa 5 students greater than the pretest score at statistical significance level, 2) the result of science process skills assessment form after using project based learning method had the high level, 3) the result of project ability developing during using project based learning method had the higher level, 4) after using method, the evaluation of students’ opinion to project based learning activities had the highest level in the positive way.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความสามารถในการทำโครงงานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงาน โดยการกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนวัดบางหลวง  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม จำนวน 31 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ใช้เวลา 20 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องแรงและ การเคลื่อนที่ จำนวน 5 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (t-test Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   3) ผลการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานระหว่างการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงาน อยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมิน ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2735
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59253405.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.