Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2736
Title: THE DEVELOPMENT OF LEARNER DEVELOPMENT ACTIVITIES ON CHULA KITE CREATIVE ECONOMICS BY PROJECT BASED WITH LOCAL KNOWLEDGE  FOR SECONDARY 
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
Authors: Piyaporn TUMWATCAI
ปิยภรณ์ ทำวัดไทร
chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การสอนแบบโครงงาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ว่าวจุฬา
LEARNER DEVELOPMENT ACTIVITIES
PROJECT BASED
LOCAL KNOWLEDGE
CHULA KITE
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to 1) study the fundamental data and needs for the development activities to Chula kite creative economics by project based with local knowledge for secondary students 2) develop learner development activities for the development activities to Chula kite creative economics by project based with local knowledge for secondary students 3) Implement learner development activities to Chula kite creative economics by project based with local knowledge for secondary students 4) evaluate and improve learner development activities to Chula kite creative economics by project based with local knowledge for secondary students about an able to do the craft project Chula kite creative economics, an able to make the work piece Chula kite and the students’ opinion toward the learner development activities. This research was Research and Development using The One-Shot Case Study. The learner  development activities were conducted with 30 secondary students at Watphrasriarn School in the second semester of the academic year 2019 through the Purposive sampling. The instruments of this research were 1) An able to do the Chula craft project 2) An able to make the work piece from Chula kite 3) The students attitude evaluation form and  the student’s opinion toward the activities for learner’s development. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation and Content Analysis. The research results were: 1. studying of fundamental information found that students and related parties know the information and need to manage development activities by the purpose for the students learn the knowledge and learn about the local Chula kite Watphrasriarn community and keep stay with the community, By the teacher and the local sage to manage the learn and  measurement and evaluation 2.The results of developing the learner development activities found that the learner development activities consisted of 1) principles 2) goals 3) guidelines of activity 4) patterns of activity 5) description of learning course 6) objectives 7) framework of activities 8) materials/resources 9) measurement and evaluation and 10) 4 lesson plans of learner development activities. Learn in the small group, focus on learn by doing and on project based learning. 3. The implementation of leaner development activities by project-based learning 4 steps; 1) Present and determine the problem 2) Define 2) Plan 3) Do 4) Presentation, Discussion and Evaluation. The students able to create economics the Chula kite and sell for income of themselves and practice to work in team. In addition, the students can show their attitudes about activities and their work piece. The evaluation and improvement of the learner development activities found that 1) students able to do the craft project Chula kite creative economics the result is good 2) an able to make the work piece Chula kite and the result is good 3) the students’ opinion toward the learner development activities the result is very good, and they thought it should to held the learning activities for the students’ career from creative Chula kite.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเพื่อพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 4) เพื่อประเมินและปรับปรุง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ 4.1) ความสามารถในการทำโครงงานประดิษฐ์ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4.2) ความสามารถในการประดิษฐ์ชิ้นงาน ผลงาน ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4.3) ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ The One Shot Case Study โดยทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 โรงเรียนวัดพระศรีอารย์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานประดิษฐ์ แบบประเมินความสามารถในการประดิษฐ์ชิ้นงาน ผลงาน แบบความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้อำนวยการ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ปราชญ์ท้องถิ่นและนักเรียนเห็นความสำคัญและต้องการให้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้และเรียนรู้ในเรื่องว่าวจุฬาท้องถิ่น ชุมชนวัดพระศรีอารย์ และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป โดยมีครูและปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการเรียนรู้และวัดประเมินผล  2. ผลการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) เป้าหมาย 3) แนวการจัดกิจกรรม 4) รูปแบบการจัดกิจกรรม 5) คำอธิบายรายวิชา 6) จุดประสงค์ 7) โครงสร้างการจัดกิจกรรม 8) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 9) การวัดและประเมินผล 10) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เน้นการลงมือปฏิบัติ ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงาน 3. ผลการทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 20 ชั่วโมง ผ่านการจัดกิจกรรมแบบโครงงานและการลงมือปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการนำเสนอและการกำหนดปัญหา 2) ขั้นตอนการวางแผนทำโครงงาน 3) ขั้นตอนการลงือปฏิบัติตามแผน 4) ขั้นตอนการนำเสนอผลการนำเสนอผลการดำเนินการและประเนผลการดำเนินงาน นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจในการร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอน นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์และจำหน่ายเป็นรายได้ของนักเรียนเอง ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากนี้นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมและผลงานของนักเรียนเอง 4. ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า 1) ความสามารถในการทำโครงงานประดิษฐ์ว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่องว่าวจุฬาสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี 2) ผลการประเมินความสามารถในการประดิษฐ์ผลงาน ชิ้นงานว่าวจุฬาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องว่าวจุฬาสร้างสรรค์ ซึ่งภาพรวมอยู่ในระดับดี 3) ความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง ว่าวจุฬาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และเสนอแนะว่าเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดอาชีพจากการสร้างสรรค์ว่าวจุฬา
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2736
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59253406.pdf10.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.