Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/274
Title: การปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษาระดับ ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
Other Titles: THE ACQUISITION OF DESIRABLE CHARACTERISTICS OF BEING A GOOD PERSON AMONG UNDERGRADUATE STUDENTS AT MAHIDOL UNIVERSITY, SALAYA CAMPUS, NAKHON PATHOM PROVINCE
Authors: ศรีสาพันธ์, อารยา
srisapun, araya
Keywords: การปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
THE ACQUISITION OF DESIRABLE CHARACTERISTICS OF BEING A GOOD PERSON
DESIRABLE CHARACTERISTICS AMONG UNDERGRADUATE STUDENTS AT MAHIDOL UNIVERSITY AT SALAYA, NAKHON PATHOM PROVINCE
Issue Date: 8-Oct-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ คณะวิชา วิธีการที่เข้าศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สภาพการพักอาศัย สถานภาพครอบครัว 3) เพื่อศึกษามุมมองและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านต่างๆ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม จำนวน 352 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ นักศึกษาได้รับรางวัลเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านต่างๆ รวมทั้งสิ้น10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง 2. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำแนกตาม คณะวิชา วิธีการที่เข้าศึกษา สภาพการพักอาศัย สถานภาพของครอบครัวต่างกัน มีการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีไม่แตกต่างกัน ส่วนเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มุมมองและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการเป็นคนดีของนักศึกษา ที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านต่างๆ มีดังนี้ 1) ด้านขยัน มีการปฏิบัติตน ได้แก่ มีการเตรียมตัวหรือเตรียมการก่อนล่วงหน้า มีการวางแผนและตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนและประเมินผลงานหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ปฏิบัติด้วยความตั้งใจ ทบทวนความรู้อยู่ให้ชำนาญเสมอ จัดสรรเวลาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด 2) ด้านอดทน มีการปฏิบัติตน ได้แก่ สามารถพิจารณาไต่ตรองแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่สมควรทำได้ ความอดทน อดกลั้นและระงับยับยั้งตนเองได้แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความเพียรพยายาม มีความรับผิดชอบ มีวินัย ประเมินหาข้อบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไข 3) ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน มีการปฏิบัติตน ได้แก่ เรียนให้สำเร็จการศึกษา หางานทำที่มีความมั่นคง ตอบแทนและเลี้ยงดูผู้มีพระคุณ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น มีการตั้งเป้าหมายและประเมินผลการทำงาน พร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ 4) มุมมองและการปฏิบัติตนที่จะทำให้นักศึกษาประสบความสำเร็จ ได้แก่ การได้รับแรงบันดาลใจจากตัวแบบที่ดี ครอบครัวให้การสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ และมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน สถาบันการศึกษามีการสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมของนักศึกษา รับฟังข้อคิดเห็น มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนและการทำกิจกรรม The purposes of this study were: 1) to study the level of desirable characteristics of being a good person among undergraduate students at Mahidol University, Salaya Campus, Nakhon Pathom Province; 2) to compare desirable characteristics of being a good person among undergraduate students at Mahidol University, Salaya Campus, Nakhon Pathom Province, as classified by sex, faculty, admission method, academic achievement, living status and family status. 3) to study viewpoints and practices of undergraduate students who were granted the Award of Desirable Characteristics in order to achieve the desirable characteristics of being a good person. This study applied both quantitative and qualitative research methods. With regard to the quantitative method, samples were 352 undergraduate students of Mahidol University at Salaya, Nakhon Pathom Province. As for students having the Award, samples were 10 students that allowed the interview for the qualitative part. Questionnaires and in-depth interviews were implemented, with data analysis using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results found that : 1. The acquisition of desirable characteristics of being a good person among undergraduate students at Mahidol University, Salaya Campus, Nakhon Pathom Province remained at the moderate level. 2. Different faculties, admission methods, living status and family status contributed similar desirable characteristics whereas different sexes and academic achievement were related to different levels of desirable characteristics, with a significance difference at .05 3. Viewpoints and practices in order to have characteristics that defined a good person included four aspects: 1) diligence meant being prepared, planning and setting goals decidedly, and assessing practices. All these activities were seriously carried out along with regular study and proper time management for maximum productivity; 2) tolerance meant having careful consideration of Dos and Don’ts, responsibility and tireless attempt, staying calm in irregular situation, being self-disciplined and assessing weaknesses for improvement; 3) achievement motivation included graduation, having a secured job and filial piety, pursuing higher education, setting goals, assessing work performance and learning new things and; 4) viewpoints and practices for achievement included having role model, support from family, good family relationship and support from the university in activities and facilities as well as having the university’s attention to students’ voices.
Description: 53256308 ; สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน -- อารยา ศรีสาพันธ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/274
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53256308 อารยา ศรีสาพันธ์.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.