Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2772
Title: Learning Activities Using STEM EDUCATION in Elementary Logic for Mathayomsuksa IV students
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Pussara PENGYAI
ภัสรา เพ็งใย
Suabsagun Yooyuanyong
สืบสกุล อยู่ยืนยง
Silpakorn University. Science
Keywords: สะเต็มศึกษา
ตรรกศาสตร์
หันคาพิทยาคม
STEM EDUCATION
LOGIC
HUNKHAPITTAYAKOM
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of our study were denoted as (1) to study the learning ability based on Learning Activities Using STEM EDUCATION in Elementary Logic for Mathayomsuksa IV students, (2) to compare the mathematics achievement applications of Elementary Logic after study between students in Mathayomsuksa IV, who study by STEM education activities and IPST method, (3) to develop the STEM education skills in Elementary Logic for Mathayomsuksa IV students and (4) to study the students’ opinions about the STEM education activities  applications of in Elementary Logic for Mathayomsuksa IV students. The samples were 80 Mathayomsuksa IV students in the first semester of the academic year 2019, Hunkhapittayakom School, Hankha District, Chai Nat Province. The research instruments were lesson plans, achievement tests, STEM education skills test and questionnaires. Statistical analysis was accomplished by mean, standard deviation and analysis of t test. The result of research founded that (1) Mathayomsuksa IV students who taught by the STEM education activities, there were over 80% of the subjects with learning ability, who scored no less than 70% of the total scores, at .05 statistically significant level, (2) the mathematical achievement of STEM education activities was higher than students who were taught through IPST method at .05 statistically significant level, (3) Mathayomsuksa IV students developed  the STEM education skills in Elementary Logic at a good level and (4) according to the questionnaire requesting opinions about the STEM education, the activities were revealed the overall picture at a high level.
ในการศึกษาค้นคว้ามีจุดมุ่งหมายของงานวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความสามารถทางการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแบบ สสวท. (3) เพื่อพัฒนาทักษะด้านสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหันคาพิทยาคม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะทางด้านสะเต็มศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ซึ่งผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น จำนวนมากกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (2) นักเรียนได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ สสวท. เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (3) นักเรียนที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีทักษะด้านสะเต็มศึกษา เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น อยู่ในระดับดี (4) นักเรียนที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2772
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59316305.pdf7.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.