Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2792
Title: Effectiveness of pharmacist intervention for psychiatric patients: A systematic review and meta-analysis of randomized control studies. 
ประสิทธิผลของการแทรกแซงโดยเภสัชกรสำหรับผู้ป่วยจิตเวช: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม
Authors: Nathapol SAMPRASIT
ณัฏฐพล สัมประสิทธิ์
NATTIYA KAPOL
ณัฏฐิญา ค้าผล
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: จิตเวช
เภสัชกร
การทบทวนวรรณกรรม
การวิเคราะห์อภิมาน
Pharmacist
Psychiatric
Systematic review
Meta-analysis
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Objectives: This study aimed to systematically review the literatures and conduct a meta-analysis on the outcomes of pharmacist intervention comparing with usual care in psychiatric patients who had been diagnosed schizophrenia, major depressive disorder, anxiety disorder or bipolar disorder. Methods: Research articles from international electronic databases (PubMed, Scopus, Cochrane CENTRAL, Science Direct, PSyINFO) and Thai electronic databases (National Research Council of Thailand, ThaiJO, ThaiLIST and HITAP) were searched from inception to December 2019 and evaluated quality of studies based on Cochrane risk of bias. Results: There were 29 studies with a total of 3,677 psychiatric patients met the inclusion criteria. Results of meta-analysis showed that the pharmacist intervention statistically significant affected on the quality of life (SMD=0.82, 95%CI 0.32, 1.32, p-value=0.00001), clinical outcome  (SMD=-0.59, 95%CI -0.98, 0.19, p-value=0.00001) and medication adherence, both the mean score of medication adherence (SMD= 0.74, 95%CI 0.29, 1.19, p-value=0.001) and pooled relative risk (RR= 1.16, 95%CI 1.06, 1.28, p-value=0.002) rather than those in the control group. Subgroup analysis showed a statistically improved quality of life in pharmacy intervention group more than usual care in schizophrenia (SMD=0.28, 95%CI 0.08, 0.48, p-value=0.006), depressive disorder (SMD=1.77, 95%CI 0.68, 2.87, p-value=0.001) and bipolar disorder (SMD=1.41, 95%CI 0.36, 2.46, p-value=0.009). With adherence outcome, the pooled relative risk of schinophrenia (RR=1.12, 95%CI 1.06, 1.17, p-value=0.00001) and depressive disorder patients (RR=1.56, 95%CI 1.07, 2.26, p-value=0.02) in the pharmacist intervention group were more than the control group. Conclusion: Pharmacist intervention improved the humanistic outcome (quality of life), clinical outcome and medical adherence of psychiatric patients more than the usual care group.
วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ของการแทรกแซงโดยเภสัชกรเปรียบเทียบกับการบริการปกติในผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ จิตเภท ซึมเศร้า วิตกกังวล หรืออารมณ์แปรปรวนสองขั้ว วิธีการ: สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ได้แก่ PubMed, Scopus, Cochrane CENTRAL, Science Direct, PSyINFO และฐานข้อมูลประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทย และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูลจนถึงเดือนธันวาคม 2562 และประเมินคุณภาพงานวิจัยตามแนวทาง Cochrane Risk of  bias ผลการศึกษา: พบงานวิจัยที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด 29 เรื่อง มีผู้ป่วยจิตเวชรวม 3,677 คน พบว่า การแทรกแซงโดยเภสัชกรทำให้ผู้ป่วยมีคะแนนคุณภาพชีวิต (SMD=0.82, 95%CI 0.32, 1.32, p-value=0.00001) คะแนนอาการทางคลินิก (SMD=-0.59, 95%CI -0.98, 0.19, p-value=0.00001)  และความร่วมมือในการใช้ยา ทั้งที่เป็นคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา (SMD= 0.74, 95%CI 0.29, 1.19, p-value=0.001)  และสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับดี (RR= 1.16, 95%CI 1.06, 1.28, p-value=0.002) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์กลุ่มย่อย พบว่า การแทรกแซงโดยเภสัชกรทำให้ผู้ป่วยจิตเภท (SMD=0.28, 95%CI 0.08, 0.48, p-value=0.006) ซึมเศร้า (SMD=1.77, 95%CI 0.68, 2.87, p-value=0.001) และอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (SMD=1.41, 95%CI 0.36, 2.46, p-value=0.009) มีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการปกติ ด้านความร่วมมือในการใช้ยา พบว่า การแทรกแซงโดยเภสัชกรทำให้มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในระดับดี ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการปกติในผู้ป่วยจิตเภท (RR=1.12, 95%CI 1.06, 1.17, p-value=0.00001) และซึมเศร้า (RR=1.56, 95%CI 1.07, 2.26, p-value=0.02)  สรุป: การแทรกแซงโดยเภสัชกรทำให้ผู้ป่วยจิตเวชมีผลลัพธ์ทางมนุษยธรรมที่เป็นคุณภาพชีวิต ผลลัพธ์ทางคลินิก และผลลัพธ์ด้านความร่วมมือในการใช้ยาดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการปกติ 
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2792
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60352301.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.