Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2808
Title: The Development of Acceptance for Use of Technology Model of Employees in Thailand's MICE Industry
การพัฒนารูปแบบการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของพนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย
Authors: Poonperm SERIVICHAYASWADI
พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์
Kerdsiri Jaroenwisan
เกิดศิริ เจริญวิศาล
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ความคิดสร้างสรรค์
เทคโนโลยีดิจิทัล
การยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยี
พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์
Technology Knowledge
Creativity
Digital Technology
Acceptance for Use of Technology
Creative Behavior
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research was 1) to examine the effect of technology knowledge, creativity, and digital technology on acceptance for use of technology of employees in Thailand's MICE Industry 2) to examine the effect of acceptance for use of technology on creative behavior of employees in Thailand's MICE Industry and 3) to examine accordance of a model of acceptance for use of technology of employees in Thailand's MICE Industry and empirical evidence. This research was conducted in mixed-method methodology. The quantitative data were collected from employees in Thailand's MICE Industry 316 sets. The exploratory factor analysis, the confirmatory factor analysis, and the structural equation model were used to analyze the data. Qualitative data were collected from an in-depth interview with 26 representatives from executives in the organizations in Thailand's MICE Industry to obtain further required information for the research. The result of the model analysis showed that the model based on assumptions were in harmony with the empirical data by Chi-square = 88.363 at the 0.05 level of significance. The p-value = 0.177, Relative Chi-square = 1.148, CFI = 0.999, GFI = 0.972, AGFI = 0.930 and RMSEA = 0.022. The results from hypothesis - testing showed that 1) Technology knowledge has a direct effect on acceptance for use of technology 2) Creativity has a direct effect on acceptance for use of technology 3) Digital technology has a direct effect on acceptance for use of technology and 4) Acceptance for use of technology has a direct effect on creative behavior. The result from in-depth interview showed that the new generation of employees were knowledgeable about technology applied to their work by causing other employees in Thailand's MICE Industry to accept and apply technology. They can use creativity through creating new innovations that were new and useful for organizing events in Thailand's MICE industry. Digital technology enables online work, convenient, fast, work anywhere, anytime, and able to share shared information well. The changes behavioral of employees in Thailand's MICE industry have adapted to apply technology. Create new process of innovation that helps reduced problems and errors from work. From the above research showed that acceptance for use of technology correspond to empirical data. The results of this research will be useful as a guideline for human resource development policies formulation in Thailand's MICE industry to apply Technology Knowledge, Creativity, and Digital Technology through Acceptance for Use of Technology, which could appropriately affect creative behavior.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยีของพนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์ไทย 2) ทดสอบอิทธิพลของการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของพนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์ไทย และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยีของพนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์ไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้วิธีวิทยาแบบผสานวิธี งานวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมไมซ์ จำนวน 316 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากสถานประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ จำนวน 26 แห่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและขยายผลการวิจัยในภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 88.363 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.177) ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (Relative Chi-square) เท่ากับ 1.148 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนสัมพัทธ์ (Comparative Fit Index: CFI) เท่ากับ 0.999 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) เท่ากับ 0.972 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjust Goodness of Fit Index: AGFI) เท่ากับ 0.930 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (Root Mean Square Error Approximation: RMSEA) เท่ากับ 0.022 ผลการวิเคราะห์โมเดลตามสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยี 2) ความคิดสร้างสรรค์ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยี 3) เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยี และ 4) การยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า พนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นผู้นำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ทำให้พนักงานอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมไมซ์เกิดการยอมรับและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อการจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้เกิดการทำงานแบบออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถแบ่งปันข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้ดี เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม พนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์มีการปรับตัวในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ สร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการในการทำงานรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดปัญหาและข้อผิดพลาดจากการทำงานให้ลดน้อยลง จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงว่ารูปแบบของการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของอุตสาหกรรมไมซ์ให้ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการยอมรับเพื่อการใช้เทคโนโลยี อันส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2808
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57604919.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.