Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2813
Title: The explanation of designs and guidelines to develop temple as a recreational area with community collaboration, a case study: Wat NakProk, Phasi Charoen, Bangkok.
การให้ความหมายของรูปแบบและแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถาน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Authors: Ekkachai NONTREE
เอกชัย นนตรี
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: รูปแบบ / แนวทางการพัฒนา /รมณียสถาน
designs guidelines to develop recreational
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is qualitative research  to select the study area that is consistent to the objectives and research questions. Data were collected through in-depth interviews, inquiries, document analysis and related research. Data analysis has been done through interpretation and the importance of data received. There are 20 key informants including monks, male followers, female followers, staffs, Buddhists, and general public who involved in development of Wat NakProk. Research result The definition of “the designs and guidelines to develop Wat Nak prok as a recreational area” from those involved with Wat Nak Prok are 1. To do good for the Buddhism. 2. To participate in temple activities. 3. To take part in problem solving and developing Wat Nak Prok. The designs and guidelines to develop temple as a recreational area of integrity in Buddhism according to the principles of temple creation and management includes suitable abode, suitable resort, suitable speech, suitable person, suitable food, suitable climate, and suitable posture. These are considered as the principles that created the process to develop temple as a recreational area, to be as a spiritual anchor to sustain Buddhist’s mind, and to be an area for Buddhists to learn and develop physical, mental, emotional and intellectual. Solution for the problem to development of Wat Nak Prok as a recreational area is to have a structural plan for management and administration to induce beneficial to temple development.
การให้ความหมายของรูปแบบและแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถาน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ดร.พิทักษ์  ศิริวงศ์. จำนวน  101 หน้า การวิจัยเรื่อง : การให้ความหมายของรูปแบบและแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถานด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฏีจากการศึกษาการให้ความหมาย, กระบวนการมีส่วนร่วม, แนวทางการพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะ และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัดนาคปรกให้เป็นรมณียสถาน การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยา เลือกพื้นที่ในการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และคำถามการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถาม การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความหมายและตีความสำคัญของข้อมูลที่ได้รับ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา เจ้าหน้าที่วัด พุทธศาสนิกชน และประชาชนทั่วไป ที่เข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัดนาคปรก จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า การให้ความหมายของคำว่า “รูปแบบและแนวทางการพัฒนาวัดนาคปรกให้เป็นรมณียสถาน”จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัดนาคปรก คือ 1.การเข้ามาทำคุณประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา 2.การเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดที่จัดขึ้น 3.การเข้ามาเพื่อมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและแนวทางพัฒนาวัดนาคปรก   แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถานที่มีความสมบูรณ์มั่นคงในทางพระพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางของหลักการสร้างวัดและการบริหารจัดการได้แก่ ด้านอาวาสสัปปายะ ด้านโคจรสัปปายะ ด้านภัสสะสัปปายะ ด้านปุคลสัปปายะ ด้านโภชนสัปปายะ ด้านอุตุสัปปายะ ด้านอิริยาปถสัปปายะถือว่าเป็นหลักการที่ก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาวัดให้มีความรื่นรมย์เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน เป็นพื้นที่ให้พุทธศาสนิกชนได้มาเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านปัญญา แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถานในทางพระพุทธศาสนา ของวัดนาคปรก คือ ให้มีแผนโครงสร้างในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวัด สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ลายมือชื่อนักศึกษา................................................................ปีการศึกษา 2562 ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์.............................................................
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2813
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58601713.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.