Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2820
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Apiluck THAMMAWIMUTTI | en |
dc.contributor | อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ | th |
dc.contributor.advisor | Viroj Jadesadalug | en |
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Management Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2020-08-14T04:51:36Z | - |
dc.date.available | 2020-08-14T04:51:36Z | - |
dc.date.issued | 10/7/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2820 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) to test the influence of Environmental Employee Learning Management Capabilities (EELMC) to Environmental Intellectual Asset (EIA) and External Stakeholder Response (ESR) of the food-processing industry in Thailand 2) to test the influence of EIA to ESR of the food-processing industry in Thailand 3) to test the moderation influence of Organizational Flexibility (OF) to the relationship between EELMC and EIA as well as the relationship between EELMC and ESR of the food-processing industry in Thailand 4) to test the influence of Organizational Environmental Consciousness (OEC) and Environmental Transformational Leadership (ETL) to EELMC of the food-processing industry in Thailand, and 5) to introduce the guideline for creating the policy recommendations, formats and methods of EELMC of the food-processing industry in Thailand. This research was conducted by Mixed-Methodology Research which included quantitative research and qualitative research. The quantitative research was to test the casual relationship and the result of EELMC. The data were collected by questionnaires to ask the 248 food-processing companies. The Confirmed Factor Analysis (CFA) and Structural Equation Modeling (SEM) were used to test the research assumptions. The qualitative data were collected by in-depth interview from 8 key-informants of food-processing companies. The result showed 1) EELMC had a positive influence to EIA and ESR 2) EIA had a positive influence to ESR and OV as well as ESR had a positive influence to OV 3) OF positively moderated the relationship between EELMC and ESR, and 4) OEC and ELT both had a positive influence to EELMC. The result of model analysis showed that the proposed model was in harmony with the empirical data by χ2 = 84.02, p-value = 0.12, χ2/df = 1.20, CFI = 0.99, GFI = 0.96, AFGI = 0.91, and RMESEA = 0.02. The benefit from this research clarified the casual relationship and effect of EELMC of food-processing industry in Thailand. In addition, the research result can be used as a guideline of policy recommendations, formats and methods of EELMC for competitive advantages and better environmental performances of the food-processing industry in Thailand. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานที่มีต่อประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และคุณค่าขององค์การของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย และทดสอบอิทธิพลของการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกที่มีต่อคุณค่าขององค์การของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความยืดหยุ่นขององค์การที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน และประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย 4) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย และ 5) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย กำหนดรูปแบบและแนวทางการจัดการการเรียนรู้ของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกิจการในธุรกิจอาหารแปรรูปจำนวน 248 แห่ง ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อการทดสอบสมมติฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีปรากฏการณ์วิทยาจาการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารกิจการธุรกิจอาหารแปรรูป จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก 2) ประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และคุณค่าขององค์การ และการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณค่าขององค์การ 3) ความยืดหยุ่นขององค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน และการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และ 4) การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่า Chi-square เท่ากับ 84.02 p-value เท่ากับ 0.12 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.20 ค่า CFI เท่ากับ 0.99 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.91 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.02 ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความสามารถการจัดการการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย โดยสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการเสนอแนวทางพัฒนาเพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย กำหนดรูปแบบและแนวทางการจัดการการเรียนรู้ของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างได้เปรียบในการแข่งขันและผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทยต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ความสามารถการจัดการการเรียนรู้ของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อม | th |
dc.subject | ประสิทธิผลของสินทรัพย์ทางปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม | th |
dc.subject | การตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก | th |
dc.subject | คุณค่าขององค์การ | th |
dc.subject | ความยืดหยุ่นขององค์การ | th |
dc.subject | การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ | th |
dc.subject | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม | th |
dc.subject | Environmental Employee Learning Management Capabilities | en |
dc.subject | Environmental Intellectual Asset Effectiveness | en |
dc.subject | External Stakeholders Responsiveness | en |
dc.subject | Organizational Value | en |
dc.subject | Organizational Flexibility | en |
dc.subject | Organization Environmental Consciousness | en |
dc.subject | Environmental Transformational Leadership | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Business | en |
dc.title | Environmental Employee Learning Management Capabilities of Food-Processing Industry in Thailand | en |
dc.title | ความสามารถการจัดการการเรียนรู้ของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58604909.pdf | 8.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.