Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2837
Title: THE DEVELOPMENT OF CREATIVE QUALITY MANAGEMENT IN THAI SILK ENTREPRENEURS
การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย
Authors: Surachai TUMAD
สุรชัย ทุหมัด
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การจัดการ
ขนส่งมวลชนอัจฉริยะ
MANAGAMENT
SMART MOBILITY
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to 1) study the situation and synthesize the component to create the theoretical conclusion of the future business management of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas and 2) the future business management of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas. The studies will be conducted in two parts. Firstly, establishing basic concepts and creating theoretical conclusions for the business management of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas by used of documentary research and applying the founding of grounded theory. And secondly, the development of a form for the business management of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas by using methods to assess the Impact and Probability of management form and analyze the relationships of management activities by applying Cross-Impact Analysis Techniques. After that, the researcher developed the developed model to create a guideline manual for the business management of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metroprolitan areas. The experts of steps 1 and 2 are entrepreneurs and executives in the Mass Transportation Business in urban areas that have plans to apply intelligent technology systems. Public transport agencies related to the development of Mass Transportation Systems in urban areas and Academics in Mass Transportation and Artificial Intelligence field. The studies found that 1)the business management form of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas. There are 10 main components, which are Inputs factors consist of specifications and operational plans. Process aspects consist of the process of using technology to support business, safety process, environmentally friendly process and the development of service quality and the results consist of convenience, urbanization, sustainability and big data. And 2) the business management form of smart mobility mass transportation on private sector in Bangkok and Metropolitan areas. There are 18 important activities that are related, consisting of Inputs, which are activity no. 1, implements the terms and conditions in the concession agreement strictly and completely and activity no. 7, estimates income and expenses per year to determine the ratio of Return on Invested Capital (ROIC) and the business growth rate. Processes, which are activity no. 11, connects to the telecommunication network for communication, activity no. 13 uses the software system to manage bus operations, activity no. 15 establish a data warehouse system, activity no. 16 establish a service platform system, activity no. 19 sensors detection of risk alerts while driving,  activity no. 24 uses alternative energy buses such as Natural Gas Vehicle (NGV) and Diesel fuel B20 and activity no. 25 increases the proportion of electric buses. The outcomes, which are activity no. 36, coordinates agencies related to adjustment to support the disabled, the elderly and people who need special assistance according to the design guidelines for everyone, activity no. 37 provides electronic payment services system, activity no.  38 provides bus scheduling services through the service platform, activity no.  42 increases access points to other types of public transportation such as rail systems and water transportation systems, activity no. 43 continuously develops environmentally friendly of bus systems, activity no. 45 Fares are consistently fair, activity no. 49 collects the number of passengers by area and time period, activity no. 50 collects the transaction data from passenger service platforms and activity no. 51 analyzes data to find business development approaches. In which all 18 activities were systematically linked.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และสังเคราะห์องค์ประกอบเพื่อสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฎีของการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะในอนาคตของภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะในอนาคตของภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดแนวคิดพื้นฐานและสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฎีการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนของภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการประยุกต์การวิจัยเอกสาร และการประยุกต์การสร้างทฤษฎีฐานราก และขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะของภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการประเมินระดับผลกระทบและความน่าจะเป็นของรูปแบบการจัดการ และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกิจกรรมการจัดการด้วยการประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ หลังจากนั้นผู้วิจัยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาจัดทำเป็นคู่มือการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะของภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้เชี่ยวชาญในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้แก่ ผู้ประกอบการและผู้บริหารในธุรกิจขนส่งมวลชนในเขตเมืองที่มีแผนการนำระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ ตัวแทนองค์การขนส่งมวลชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการระบบขนส่งมวลชนในเขตเมือง และนักวิชาการด้านการจัดการขนส่งมวลชนและปัญญาประดิษฐ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะของภาคเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีองคประกอบหลัก จำนวน 10 องคประกอบ ไดแก ด้านปัจจัยนําเขา ประกอบด้วย ข้อกำหนด และแผนการดำเนินงาน ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนธุรกิจ กระบวนการสร้างความปลอดภัย กระบวนการสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย ความสะดวก ความเป็นเมือง ความยั่งยืน และข้อมูลขนาดใหญ่ และ 2) รูปแบบการจัดการธุรกิจขนส่งมวลชนอัจฉริยะของภาคเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีกิจกรรมสำคัญที่มีความสัมพันธ์กัน มีจำนวน 18 กิจกรรม ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 นำข้อตกลงในสัญญาสัมปทานมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและครบถ้วน และกิจกรรมที่ 7 ประมาณการรายได้ และรายจ่ายต่อปี กำหนดอัตราส่วนผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจและอัตราการเติบโตของกิจการ ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมที่ 11 เชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร กิจกรรมที่ 13 นำระบบซอฟต์แวร์ การจัดการเดินรถมาใช้ในการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 15 จัดทำระบบคลังข้อมูล กิจกรรมที่ 16 จัดทำระบบแพลตฟอร์มการให้บริการ กิจกรรมที่ 19 การตรวจจับ แจ้งเตือนความเสี่ยงขณะขับขี่ กิจกรมที่ 24 ใช้รถโดยสารพลังงานทางเลือก เช่น ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และ น้ำมันดีเซล B20 และกิจกรรมที่ 25 เพิ่มสัดส่วนการใช้รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ กิจกรรมที่ 36 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับสถานที่บริเวณจุดรอรถให้มีการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ ผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ มีความเสมอภาคและเท่าเทียมตามแนวทางการออกแบบเพื่อทุกคน กิจกรรมที่ 37 ให้บริการชำระค่าบริการใช้อิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมที่ 38 มีบริการตรวจสอบตารางเวลารถโดยสารแบบทันทีผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการ กิจกรรมที่ 42 การเพิ่มจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ เช่น ระบบราง และระบบขนส่งทางน้ำ เป็นต้น กิจกรรมที่ 43 มีการพัฒนาระบบรถโดยสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 45 มีการคำนวณอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 49 เก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารโดยจำแนกเป็นพื้นที่และช่วงเวลา กิจกรรมที่ 50 เก็บข้อมูลการทำธุรกรรมจากแพลตฟอร์มการให้บริการแก่ผู้โดยสาร และกิจกรรมที่ 51 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางพัฒนาธุรกิจ โดยทั้ง 18 กิจกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2837
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59604917.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.